รายละเอียดบทความ

ชวนมาทำความรู้จักโพรไบโอติกปรับสมดุลลำไส้ ลดท้องเสีย

พฤศจิกายน 23, 2023

แชร์ไปยังโซเชียลมีเดีย:

ลดท้องเสีย-Probiotics-prevents-diarrhea_feature

ท้องเสีย หรือโรคอุจจาระร่วง นับเป็นหนึ่งในอาการผิดปกติของร่างกายที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย และเป็นโรคที่หลายๆ คนรู้จักกันดี แต่ในบางครั้ง บางคนอาจมีอาการรุนแรงติดต่อกันหลายวัน และจำเป็นต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ ดังนั้น ในวันนี้ Zenbio จะมาอธิบายถึงอาการท้องเสีย ว่ามีลักษณะอย่างไร มีกี่รูปแบบ และมีสาเหตุมาจากอะไรบ้าง พร้อมแนะนำให้รู้จักประโยชน์ของโพรไบโอติกที่จะเข้ามาช่วยปรับสมดุลลำไส้ ช่วยให้ห่างไกลอาการท้องเสีย

A woman sitting on the couch holding her hands around her belly and feeling painful.
Text on the left sign contains "Zenbio" and caption "Probiotic helps rebalancing the intestines to prevent diarrhea.

ท้องเสีย คืออะไร?[1]

ท้องเสีย หรือโรคอุจจาระร่วง (Diarrhea) คือ ภาวะอุจจาระเหลว หรือถ่ายเป็นน้ำตั้งแต่ 3 ครั้งขึ้นไปเป็นเวลา 1-2 วัน โดยทั่วไป ท้องเสียถือเป็นภาวะที่ไม่รุนแรงมากนัก และสามารถหายได้เองภายใน 2-3 วัน โดยไม่จำเป็นต้องพบแพทย์แต่อย่างใด ซึ่งอาการทั่วไปที่มักพบได้เมื่อท้องเสีย ได้แก่

  • อุจจาระมีลักษณะเหลว หรือถ่ายออกเป็นน้ำ
  • ปวดท้องเกร็ง
  • ถ่ายท้องต่อเนื่อง มากกว่าวันละ 3 ครั้ง
  • บางคนอาจรู้สึกคลื่นไส้ เวียนศีรษะ หรือมีไข้อ่อนๆ ร่วมด้วย[2]

อาการท้องเสีย มีกี่แบบ

A man in white outfit holding his hands on belly showing a sign of belly pain.

อาการท้องเสีย สามารถจำแนกออกเป็น 2 รูปแบบหลักๆ โดยแบ่งตามระยะเวลาของอาการ ดังนี้

1. ท้องเสียเฉียบพลัน (Acute Diarrhea)

คือ อาการท้องเสียที่พบได้บ่อย แต่มีอาการไม่รุนแรง และหายเองได้ภายใน 2-3 วัน ซึ่งอาการท้องเสียแบบนี้ เป็นรูปแบบที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้ในชีวิตประจำวันมากที่สุด

2. ท้องเสียเรื้อรัง (Chronic Diarrhea)[3]

เป็นอาการท้องเสียที่เกิดขึ้นติดต่อกันอย่างน้อย 2 สัปดาห์ขึ้นไป หรือมักเป็นๆ หายๆ อย่างต่อเนื่อง โดยอาการอุจจาระร่วงประเภทนี้นับว่าเป็นอาการที่น่าเป็นห่วง ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากโรคในระบบทางเดินอาหาร เช่น โรคลำไส้อักเสบ หรือโรคถุงผนังลำไส้อักเสบ เป็นต้น

ลักษณะอาการท้องเสียผิดปกติ

บางคนอาจพบว่าตัวเองมีอาการท้องเสียรุนแรงมากผิดปกติ เช่น

  • ถ่ายเป็นน้ำ พร้อมมีมูกเลือดปนในอุจจาระ
  • ปวดท้องเกร็งบริเวณช่องท้องด้านล่าง หรือทวารหนักอย่างรุนแรง
  • มีไข้สูงเกิน 38 องศาเซลเซียส
  • ในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง อุจจาระจะมีสีขาวขุ่น คล้ายน้ำซาวข้าว อุจจาระมีกลิ่นคาว หรืออาจมีไขมันติดมาด้วย
  • มีภาวะร่างกายขาดน้ำ (Dehydration)[4] เช่น ปากแห้ง หัวใจเต้นเร็ว รู้สึกอ่อนเพลีย  หรือมีอาการเวียนศีรษะขณะลุกเปลี่ยนท่าทาง

หากมีอาการที่กล่าวไปข้างต้น ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาโดยเร็วที่สุด

สาเหตุของอาการท้องเสีย

A man holding a crotch near the toilet bowl showing sign of being painful.

โดยส่วนใหญ่ โรคอุจจาระร่วงสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย ดังนี้

1. อาหารเป็นพิษจากเชื้อไวรัส หรือแบคทีเรีย

เชื้อไวรัส หรือแบคทีเรียที่ปะปนอยู่ในอาหารและเครื่องดื่มถือเป็นสาเหตุหลักๆ ที่ทำให้หลายคนท้องเสียบ่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นไวรัส Rotavirus[5], Norovirus[6] หรือ Stomach Flu[7] รวมไปถึงแบคทีเรีย เช่น Salmonella[8] หรือ E. Coli จากอาหารที่ปรุงไม่สุก[9] หรือเก็บรักษาไม่เหมาะสม

2. ท้องเสียจากการทานยาปฏิชีวนะ (Antibiotic-associated Diarrhea)   

บางคนอาจพบว่าตัวเองมีอาการท้องเสียหลังรับประทานยาปฏิชีวนะ เพราะว่ายาชนิดนี้จะเข้าไปกำจัดเชื้อแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรค แต่ในขณะเดียวกันก็ทำลายแบคทีเรียธรรมชาติประจำถิ่นหรือจุลินทรีย์ชนิดดีที่อาศัยอยู่ในลำไส้อีกด้วย ซึ่งมีหน้าที่ในการรักษาสมดุลในระบบทางเดินอาหารและช่วยในการยับยังการเจริญเติบโตของเชื้อหรือแบคทีเรียที่ก่อเกิดโรค ส่งผลให้มีโอกาสท้องเสียได้ง่ายขึ้น ซึ่งอาการนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับผู้ป่วยราว 5-30% ที่ทานยาปฏิชีวนะ[10]

3. การทานอาหารบางชนิด

อาหารบางชนิดสามารถทำให้ท้องเสียได้ หากรับประทานในปริมาณที่มากเกินไป เช่น อาหารรสเผ็ด เนื่องจากแคปไซซิน (Capsaicin) ในพริกมีฤทธิ์ทำให้เกิดอาการระคายเคืองในกระเพาะอาหาร[11] จนทำให้ท้องเสียในที่สุด

สารให้ความหวานแทนน้ำตาลบางชนิด อาจทำให้เกิดอาการท้องเสียได้ เช่น ซอร์บิทอล แมนนิทอล หรือสารในกลุ่ม Sugar Alcohol ซึ่งร่างกายไม่สามารถย่อยสลายได้หมด จึงส่งผลให้เกิดอาการมวลท้อง ท้องอืด และท้องเสียนั่นเอง[12] 

กาแฟหรือเครื่องดื่มอย่างชาและเครื่องดื่มชูกำลังที่มีส่วนผสมของคาเฟอีน อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดอาการท้องเสียเฉียบพลัน หากปริมาณจุลินทรีย์ชนิดดีในลำไส้ไม่เพียงพอในการรักษาสมดุล การทานคาเฟอีนมากเกินไปจะทำให้ลำไส้แปรปรวนได้ (ปริมาณไม่ควรเกิน 400 มิลลิกรัม คือ 3 แก้วต่อวัน) แต่หากคนที่เป็นโรคลำไส้แปรปรวนอยู่แม้ว่าจะทานคาเฟอีนในปริมาณที่น้อยกว่าคนปกติ ก็อาจไปกระตุ้นให้เกิดอาการท้องเสียได้ทันที[13]

4. ภูมิแพ้อาหารแฝง (Food Intolerance)[14]

ภูมิแพ้อาหารแฝงนั้นสามารถก่อให้เกิดอาการคล้ายกับภูมิแพ้อาหาร (Food Allergy) แต่มักจะแสดงอาการต่อเมื่อมีการรับประทานอาหารในปริมาณมากเพราะร่างกายไม่สามารถย่อยอาหารหรือส่วนผสมบางชนิดได้ ส่วนใหญ่อาการท้องเสียจากภูมิแพ้อาหารแฝงจะไม่รุนแรง แต่หากเป็นเรื้อรังอาจก่อให้เกิดโรคในระบบทางเดินอาหาร เช่น โรคลำไส้แปรปรวน (IBS: Irritable Blow Syndrome)[15] หรือ โรคโครห์น  (Crohn’s Disease)[16] การแพ้อาหารจะแตกต่างกันไปแต่ละคน เราควรหมั่นตรวจสอบว่าร่างกายเราแพ้อาหารอะไรเพื่อป้องกันไว้ก่อน ซึ่งการแพ้อาหารที่พบบ่อยที่สุดคือการแพ้แลคโตสซึ่งเป็นน้ำตาลชนิดหนึ่งที่พบในนม

5. รังสีรักษา (Radiotherapy)

ผู้ป่วยที่ได้รับการฉายรังสีบริเวณช่องท้องและอุ้งเชิงกราม อาจมีโอกาสที่จะเกิดภาวะท้องเสียเป็นเวลาหลายสัปดาห์ หรือท้องเสียเรื้อรังได้[17]

โพรไบโอติกปรับสมดุลลำไส้ ช่วยแก้อาการท้องเสีย

A girl in blue top is eating the yogurt from the cup.

โพรไบโอติก (Probiotics) คือ จุลินทรีย์ที่จัดอยู่ในกลุ่มที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย เมื่อมีอยู่ในปริมาณที่เหมาะสมจะช่วยให้ร่างกายทำงานเป็นปกติ โดยเฉพาะระบบทางเดินอาหารและระบบภูมิคุ้มกัน ซึ่งหนึ่งในโพรไบโอติกที่เป็นที่รู้จัก และมีส่วนช่วยระบบทางเดินอาหารเป็นอย่างมาก คือ แลคโตบาซิลลัส (Lactobacillus) ที่เป็นกลุ่มแบคทีเรียที่เกาะติดลำไส้ จึงพบได้มากในระบบทางเดินอาหาร[18]

โดยการรับประทานอาหารที่มีโพรไบโอติกมีประโยชน์หลายด้าน ดังนี้

  • ช่วยปรับสมดุลแบคทีเรียในลำไส้[19]

โพรไบโอติกเป็นแบคทีเรียดีที่อยู่ในระบบทางเดินอาหาร จึงมีส่วนช่วยในการกำจัดแบคทีเรียชนิดไม่ดี ยับยั้งไม่ให้จุลินทรีย์เหล่านั้นเจริญเติบโตเพิ่มปริมาณจนก่อโรค จึงช่วยให้ลำไส้แข็งแรงขึ้น

  • ป้องกันและบรรเทาอาการท้องเสีย ท้องผูก ลำไส้อักเสบ

เพราะโพรไบโอติกเข้าไปปรับสมดุลลำไส้และระบบทางเดินอาหาร มีส่วนช่วยในการย่อยและดูดซึมสารอาหารต่างๆ ลดโอกาสที่จะเกิดอาการท้องเสีย ท้องผูก อีกทั้งยังมีงานวิจัยระบุว่า โพรไบโอติกสายพันธุ์ Lactobacillus และ Bifidobacterium สามารถบรรเทาหรือป้องกันปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับลำไส้ เช่น โรคลำไส้แปรปรวน ท้องเสียจากการใช้ยาปฏิชีวนะ และภาวะพร่องเอนไซม์ย่อยนมหรือไม่ทนทานต่อน้ำตาลแล็กโทส[20] [21]

  • ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่[22]

แบคทีเรียชนิดต่างๆ ที่เข้าไปยังลำไส้ใหญ่ผ่านการรับประทานอาหารมีโอกาสสร้างสารก่อมะเร็ง โดยเฉพาะสารในกลุ่มอะโรมาติคเอมีน (Aromatic Amines) ที่อาจปนเปื้อนในอาหารประเภทเนื้อสัตว์[23] ซึ่งเป็นสาเหตุของมะเร็งลำไส้ใหญ่ โดยโพรไบโอติกสามารถช่วยยับยั้งแบคทีเรียเหล่านี้ จึงสามารถลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งได้นั่นเอง

  • ส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย

ระบบภูมิคุ้มกันร่างกายประมาณ 70-80% อยู่ที่ระบบทางเดินอาหาร ผลการศึกษาจากหลายแหล่ง ระบุว่าโพรไบโอติกเพิ่มภูมิคุ้มกันด้วยการปรับสมดุลระบบทางเดินอาหาร[24] นอกจากนี้ ยังมีผลการทดลองว่าโพรไบโอติกช่วยป้องกันหวัด และช่วยให้หายจากไข้หวัดได้เร็วขึ้นอีกด้วย[25]

  • ช่วยระบบทางเดินปัสสาวะ

โพรไบโอติกสามารถช่วยลดการอักเสบติดเชื้อของทางเดินปัสสาวะ ลดการสะสมของแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ลดความเสี่ยงในการติดชื้อในปากช่องคลอดได้มากถึง 50% ซึ่งเป็นปัจจัยก่อให้เกิดกระเพาะปัสสาวะอักเสบ[26] [27] 

อาการท้องเสียหรือโรคอุจจาระร่วงเป็นโรคที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน หลายคนสามารถหายเองได้ภายในเวลาไม่กี่วัน บางคนมีอาการรุนแรง ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากโรคต่างๆ ดังนั้นจึงควรรักษาสมดุลของแบคทีเรียในกระเพาะอาหาร โดยการรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยโพรไบโอติก เช่น โยเกิร์ต นมเปรี้ยว กิมจิ มิโซะ ชาหมัก ชีสบางชนิด อาหารหมักดองต่างๆ หรือผลิตภัณฑ์อาหารเสริมโพรไบโอติก เพื่อเพิ่มจำนวนจุลินทรีย์ดีให้กับร่างกาย ห่างไกลจากอาการท้องเสีย

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารโพรไบโอติก ที่มีสายพันธุ์เฉพาะของแลคโตบาซิลลัส แอซิโดฟิลัส เอ็นซีเฮชเอ็ม (Lactobacillus acidophilus NCFM) และ บิฟิโดแบคทีเรียม แล็กทิส เอชเอ็น019 (Bifidobacterium Lactis HN019) ได้ที่ลิงค์นี้
www.zenbiohealth.com/pro-bl8-th-โพรไบโอติก/

อ้างอิง

[1] [2] [3] [4] [5] [6] [7] [8] [9] [10] [11] [12] [13] [14] [15] [16] [17] [18] [19] [20] [21] [22] [23] [24] [25] [26] [27] 

บทความที่เกี่ยวข้อง

เซนไบโอจัดแสดงสินค้าที่ สำนักวิชาเวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

22 มกราคม 2024

  |  

ข่าวสาร , กิจกรรม

เซนไบโอ ได้แนะนำ ผลิตภัณฑ์โพรไบโอติกส์ Zenbio ProBL8 ที่สำนักวิชาเวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง กรุงเทพฯ

เจาะลึกโรคซึมเศร้าและประโยชน์ไซโคไบโอติก (Psychobiotics)

11 มกราคม 2024

  |  

เคล็ดลับ ดูแลสุขภาพ

ทำความรู้จักกับโรคซึมเศร้าแต่ละประเภท สาเหตุ และอันตรายของโรค พร้อมแนะนำวิธีดูแลสภาพจิตใจพื้นฐานกับไซโคไบโอติก โพรไบโอติกช่วยโรคซึมเศร้า

โพรไบโอติกกับโรคเครียดและอาการนอนไม่หลับ

27 ธันวาคม 2023

  |  

เคล็ดลับ ดูแลสุขภาพ

ทำความรู้จักกับโรคเครียดและอาการนอนไม่หลับ สาเหตุ และอันตรายของโรค พร้อมแนะนำวิธีดูแลสภาพจิตใจพื้นฐานกับโพรไบโอติกช่วยปรับอารมณ์ ลดความเครียด และช่วยให้นอนหลับได้ดียิ่งขึ้น

8 อาหารที่ควรเลี่ยง เสี่ยงตกขาว

27 ธันวาคม 2023

  |  

ความรู้อาหาร และโภชนาการ

การมีตกขาวนับเป็นเรื่องปกติสำหรับผู้หญิง ที่มักจะเกิดขึ้นในทุกๆ เดือน ไม่ว่าจะเป็นในระหว่างช่วงรอบประจำเดือนหรือตั้งครรภ์ อย่างไรก็ตาม อาการตกขาวอาจเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่า เรากำลังมีปัญหาสุขภาพช่องคลอดก็เป็นได้

รวม 5 วิธีลดน้ำหนักง่ายๆ ด้วยการคุมอาหาร

19 ธันวาคม 2023

  |  

ความรู้อาหาร และโภชนาการ

มาสำรวจวิธีการลดน้ำหนักผ่านการควบคุมการรับประทานอาหารรูปแบบต่างๆ เพื่อประโยชน์ต่อร่างกายและสุขภาพที่แข็งแรง พร้อมรู้จักกับโพรไบโอติกลดน้ำหนัก

ซึมเศร้าอาการซ่อนเร้น…เอ๊ะ เราเป็นหรือเปล่า

29 พฤศจิกายน 2023

  |  

เคล็ดลับ ดูแลสุขภาพ

Zenbio พามาทำความรู้จักกับโรคซึมเศร้าซ่อนเร้นที่หลายคนอาจยังไม่เคยทราบแตกต่างจากโรคซึมเศร้าอย่างไร พร้อมหาคำตอบกันว่าโพรไบโอติกช่วยลดซึมเศร้าได้จริงหรือไม่