รายละเอียดบทความ

ซึมเศร้าอาการซ่อนเร้น…เอ๊ะ เราเป็นหรือเปล่า

พฤศจิกายน 29, 2023

แชร์ไปยังโซเชียลมีเดีย:

โรคซึมเศร้า-โรคซึมเศร้า-ลดภาวะซึมเศร้า-ลดซึมเศร้า
Sad-looking Female's curling on the couch. The left side text of image says "Hidden depress, have you had these signs?"

สุขภาพจิตเป็นสิ่งสำคัญที่เราควรเอาใจใส่ไม่น้อยไปกว่าการดูแลสุขภาพร่างกาย ไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตประจำวัน ความเครียด ความวิตกกังวล รวมไปถึงปัจจัยต่างๆ อาจทำให้เกิดโรคซึมเศร้า ที่ควรรีบเข้ารับการรักษาจากจิตแพทย์ ทั้งนี้ ยังมีอาการทางจิตอย่างซึมเศร้าซ่อนเร้นที่มักไม่แสดงอาการชัดเจนซึ่งอาจทำให้หลายคนป่วยโดยไม่รู้ตัว

วันนี้ Zenbio จะพามาทำความรู้จักโรคซึมเศร้าซ่อนเร้นว่าคืออะไร มีอาการแบบใด และต่างจากโรคซึมเศร้าอย่างไร พร้อมตอบคำถามว่าโพรไบโอติกช่วยลดซึมเศร้าได้หรือไม่

โรคซึมเศร้าซ่อนเร้น คืออะไร

ตามคำจำกัดความของสมาคมจิตวิทยาอเมริกัน (APA: American Psychological Association) โรคซึมเศร้าซ่อนเร้น Masked Depression ปัจจุบันใช้ชื่อทางการแพทย์ว่า Somatic Symptoms Depression (SSD) หรือโรคโซโมโตฟอร์ม (Somatoform Disorder) คือ ภาวะที่ผู้ป่วยซึมเศร้าไม่แสดงอาการทางจิตใจชัดเจน แต่กลับแสดงอาการทางกายมากกว่า เช่น ปวดศีรษะ ปวดหลัง ไม่มีสมาธิ เหนื่อยล้า ทำให้หลายคนมักเข้าใจผิดว่าเป็นภาวะบาดเจ็บทางกายเท่านั้น[1] [2] 

อาการทางกายของผู้ป่วยซึมเศร้าซ่อนเร้น[3]

  • ปวดกล้ามเนื้อบริเวณต่างๆ เช่น หลัง ปวดตามข้อต่อ และปวดหัวเรื้อรัง
  • มักมีปัญหาในระบบทางเดินอาหาร ปวดท้องบ่อย ไม่ทราบสาเหตุ
  • หัวใจเต้นเร็ว หรือใจสั่น อาจมีอาการแทรกซ้อนจากโรคตื่นตระหนก (Panic Disorder) 
  • เหนื่อยล้า หรือรู้สึกไม่ค่อยมีพลังงาน
  • มีปัญหาในการนอนหลับ

อาการทางพฤติกรรมของผู้ป่วยซึมเศร้าซ่อนเร้น[3]

ผู้เป็นโรคซึมเศร้าซ่อนเร้นอาจมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปร่วมด้วย เช่น

  • ไม่มีสมาธิ มีปัญหาในการจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นเวลานาน
  • เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ
  • มีพฤติกรรมถอนตัวจากสังคม หากเป็นเด็กจะไม่อยากไปโรงเรียน ส่วนผู้ใหญ่มักจะไม่อยากไปทำงาน
  • มีพฤติกรรมย้ำคิดย้ำทำ หรือเป็น Perfectionist ทำทุกอย่างให้สมบูรณ์ เพื่อกลบความกังวลและความรู้สึกไม่มั่นคงในจิตใจ

ความแตกต่างระหว่างโรคซึมเศร้าซ่อนเร้นและโรคซึมเศร้า[1] [2] [4] [5]

อาการ โรคซึมเศร้าซ่อนเร้นโรคซึมเศร้า
อาการทางร่างกาย• ปวดกล้ามเนื้อ ปวดหัวเรื้อรัง
• ปวดท้องบ่อย ไม่ทราบสาเหตุ แต่มีความอยากอาหารปกติ
• หัวใจเต้นเร็ว หรือใจสั่น บ่อย
• เหนื่อยล้า หรือรู้สึกไม่ค่อยมีพลังงาน
• ไม่หิว ไม่รู้สึกอยากอาหาร
• มีปัญหาในระบบทางเดินอาหาร
• เหนื่อยล้า หรือรู้สึกไม่ค่อยมีพลังงาน ไม่มีเรี่ยวแรงทำอะไร
อาการทางจิต• มีปัญหาในการนอนหลับ
• ย้ำคิดย้ำทำ
• รู้สึกเครียดตลอดเวลา
• มีปัญหาในการนอนหลับ
• รู้สึกท้อแท้ ผิดหวัง ไร้ค่า
• อารมณ์ไม่มั่นคง
• คิดลบคิดในแง่ร้ายตลอดเวลา
• มีปัญหาทางด้านความจำ หลงๆ ลืมๆ จำอะไรไม่ค่อยได้
พฤติกรรมที่แสดงออก• สามารถทำงานได้ตามปกติ รับผิดชอบงานได้
• มีพฤติกรรมถอนตัวจากสังคม ไม่พูดคุยกับใคร
• ไม่มีสมาธิ จดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งไม่ได้
• เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ
• ไม่สามารถรับผิดชอบต่อหน้าที่การงาน ครอบครัว หรือตนเองได้เลย
• ซึมตลอดเวลา ไม่ร่าเริงเลย
• ไม่มีสมาธิ 
• เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ
• มีพฤติกรรมถอนตัวจากสังคม ไม่พูดคุยกับใคร และไม่อยากพบเจอใครเลย
• ทำร้ายตนเอง ไม่อยากมีชีวิตอยู่

โดยทั้งสองภาวะนั้นมีอาการคล้ายกัน คือ อาการปวดกล้ามเนื้อ มีปัญหาในระบบทางเดินอาหาร ไม่มีสมาธิ เหนื่อยล้า หรือรู้สึกไม่ค่อยมีพลังงาน หากละเลยอาการซึมเศร้าซ่อนเร้นเป็นเวลานาน ไม่เข้ารับการรักษาหรือหาวิธีช่วยลดภาวะซึมเศร้า สามารถส่งผลให้ความเครียดสะสมมากขึ้น ขาดความมั่นคงทางอารมณ์ ขาดความมั่นใจในตนเอง และนำไปสู่ภาวะซึมเศร้าในระดับที่อันตรายได้ ซึ่งการรับรู้ที่ช้าเกินไปอาจส่งผลต่อชีวิตและระยะเวลาการรักษาได้

โพรไบโอติกช่วยลดซึมเศร้าได้อย่างไร?

หลายคนอาจทราบดีว่า โพรไบโอติก หมายถึง จุลินทรีย์ดีที่ให้ประโยชน์ต่อร่างกาย และอาศัยอยู่ในระบบทางเดินอาหารเป็นส่วนใหญ่ แต่แล้วการเพิ่มโพรไบโอติกที่ดีในลำไส้ สามารถช่วยลดภาวะซึมเศร้าได้อย่างไร อันดับแรก เราต้องมาศึกษาเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างลำไส้กับสมอง หรือ Gut-Brain Axis

ความสัมพันธ์น่าทึ่งระหว่างลำไส้และสมอง (Gut-Brain Axis)[6]

The image shows relationship between Gut and brain in chain reaction. The text in a center of image says "Gut-Brain Axis". There are arrows link the relationship from gut (digestive system) to "Neurotransmitters" - "Anxiety" - "Mood" - "Stress", then to the brain figure which continually links to "nutrient delivery" - "Microbial Balance" - "Motility" - "Secretion" then to the digestive system figure and the loop is created here.

สมอง (Brain) คือ อวัยวะสำคัญที่ทำหน้าที่ควบคุมส่วนต่างๆ ของร่างกาย ทั้งการเคลื่อนไหว พฤติกรรม อารมณ์ความรู้สึก รวมไปถึงรักษาสมดุลต่างๆ ภายในร่างกาย แต่ในร่างกายของเรายังมีอวัยวะอย่าง ลำไส้ ที่ทำงานด้วยตัวของมันเอง โดยไม่พึ่งพาการสั่งการของสมอง แต่อวัยวะทั้งสองส่วนนี้ยังคงมีการติดต่อสื่อสารซึ่งกันและกันอยู่

การติดต่อสื่อสารกันระหว่างสมองและลำไส้ หรือ Gut-Brain Axis นั้นมีระบบประสาทที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ 

  • ระบบประสาทส่วนกลาง (Central Nervous System: CNS) – ระบบประสาทหลักของร่างกายที่ประกอบด้วยสมองและไขสันหลัง[7]
  • ระบบประสาทลำไส้ (Enteric Nervous System: ENS)  – คือ ระบบประสาทที่มีหน้าที่ควบคุมระบบทางเดินอาหารตั้งแต่หลอดอาหารไปจนถึงรูทวาร[8] โดยนับเป็นส่วนหนึ่งของระบบประสาทอัตโนมัติ (Autonomic Nervous System: ANS)[9] ระบบประสาทลำไส้ดังกล่าวมีหน้าที่ควบคุมการทำงานของระบบทางเดินอาหารทั้งหมดให้เป็นปกติ ตั้งแต่การไหลเวียนเลือดในลำไส้ การหลั่งสารต่างๆ การตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้น เช่น อาหาร เครื่องดื่ม และยา ควบคุมกล้ามเนื้อต่างๆ ในการเคลื่อนไหวและการบีบตัว รวมไปถึงการควบคุมสมดุลของการเจริญเติบโตของเชื้อโรคประจำถิ่นในระบบลำไส้ (Gut Microbiota)[10]

โดยระบบประสาททั้ง 2 มีการสื่อสาร แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน ส่งผลซึ่งกันและกัน เช่น เมื่อเรารู้สึกเครียดหรือตื่นเต้นมากๆ อาจส่งผลให้ท้องไส้ปั่นป่วน ท้องผูกหรือท้องเสีย ในทางกลับกัน เมื่อเราทานอาหารอร่อย ลำไส้เล็กก็จะผลิตโดพามีน (Dopamine) สารสื่อประสาทไปยังสมอง ทำให้เรารู้สึกมีความสุข เป็นต้น พูดง่ายๆ ว่าการทำงานของลำไส้มีผลต่อสมอง ส่วนการทำงานของสมองก็มีผลต่อลำไส้ เมื่อมีสุขภาพลำไส้ที่ดีก็จะส่งผลให้อารมณ์ดีด้วยนั่นเอง[11]

ไซโคไบโอติกช่วยลดภาวะซึมเศร้า

ในปัจจุบันมีงานวิจจัยและการศึกษามากมายที่ระบุว่าการรับประทานโพรไบโอติกส่งผลดีต่อสุขภาพจิต มีผลช่วยลดความเครียด ลดระดับคอร์ติซอล (Cortisol) หรือฮอร์โมนความเครียด[12] จึงเกิดเป็นคำศัพท์ใหม่ คือ ไซโคไบโอติก (Psychobiotics) 

ไซโคไบโอติก (Psychobiotics) ไม่ได้บ่งบอกถึงสายพันธุ์เฉพาะของโพรไบโอติก แต่หมายถึงกลุ่มโพรไบโอติกที่มีส่วนช่วยในการช่วยส่งเสริมสุขภาพจิตอีกด้วย

  • ในปี 2011 วารสาร British Journal of Nutrition ได้เผยแพร่ผลการทดลองว่าในกลุ่มอาสาสมัครที่ได้รับโพรไบโอติกสายพันธุ์ L. helveticus และ B. longum มีภาวะเครียดน้อยกว่า รวมถึงมีระดับฮอร์โมนคอร์ติซอลน้อยลงเมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่รับประทาน[13]
  • อีกการศึกษาหนึ่งระบุว่าในกลุ่มทดลองที่ได้รับโพรไบโอติกในจำนวน 8 Strains ที่แตกต่างกัน มีอาการซึมเศร้าน้อยลง[14] 

นอกจากนี้ นักวิจัยยังเชื่อว่าโพรไบโอติกนั้นมีผลต่อการทำงานของ Gut-Brain Axis อีกด้วย[15] เช่น 

  • ช่วยเพิ่มจำนวนเซลล์สื่อประสาท (Neurotransmitters) ซึ่งส่งผลต่อความอยากอาหาร อารมณ์ และการนอนหลับให้เป็นปกติ
  • ลดการอักเสบของร่างกาย (Inflammation) ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้า[16]
  • ส่งผลต่อ Cognitive function ช่วยให้ร่างกายรับมือกับความเครียดได้ดี
  • ส่งผลต่อประสิทธิภาพของ Enterochromaffin cells เป็นเซลล์ในระบบทางเดินอาหาร ทำหน้าที่สร้างสารสื่อประสาทที่ชื่อว่า เซโรโทนิน (Serotonin) ช่วยให้สุขภาพจิตดี อารมณ์ดี มีสมาธิ และมีผลต่อการขับถ่ายและการเคลื่อนตัวของลำไส้[17] [18]

สุดท้ายนี้ โพรไบโอติกนั้นไม่ได้มีส่วนช่วยแค่สุขภาพจิตและช่วยลดอาการซึมเศร้า แต่ยังมีประโยชน์ต่อระบบทางเดินอาหาร ช่วยย่อย ดูดซึมสารอาหาร อีกทั้งยังส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง (เพราะระบบภูมิคุ้มกันร่างกายประมาณ 70-80% อยู่ที่ระบบทางเดินอาหาร[19]) ซึ่งเราสามารถรับประทานอาหารที่มีจำนวนโพรไบโอติกสูงอย่าง โยเกิร์ต นมเปรี้ยว ชีสบางชนิด ผักดองอย่างกิมจิ หรือทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารโพรไบโอติก เพื่อเพิ่มจำนวนจุลินทรีย์ดีให้กับร่างกาย และต้องไม่ลืมที่จะออกกำลังกายสม่ำเสมอ ทำกิจกรรมช่วยผ่อนคลาย เพียงเท่านี้ก็จะห่างไกลจากซึมเศร้าซ่อนเร้นแล้ว

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารโพรไบโอติก ที่มีสายพันธุ์เฉพาะ บิฟิโดแบคทีเรียม แล็กทิส เอชเอ็น019 (Bifidobacterium Lactis HN019) ได้ที่ลิงค์นี้
www.zenbiohealth.com/th/pro-bl8-th-โพรไบโอติก

อ้างอิง

[1] [2] [3] [4] [5] [6] [7] [8] [9] [10] [11] [12] [13] [14] [15] [16] [17] [18] [19] 

บทความที่เกี่ยวข้อง

เซนไบโอจัดแสดงสินค้าที่ สำนักวิชาเวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

22 มกราคม 2024

  |  

ข่าวสาร , กิจกรรม

เซนไบโอ ได้แนะนำ ผลิตภัณฑ์โพรไบโอติกส์ Zenbio ProBL8 ที่สำนักวิชาเวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง กรุงเทพฯ

เจาะลึกโรคซึมเศร้าและประโยชน์ไซโคไบโอติก (Psychobiotics)

11 มกราคม 2024

  |  

เคล็ดลับ ดูแลสุขภาพ

ทำความรู้จักกับโรคซึมเศร้าแต่ละประเภท สาเหตุ และอันตรายของโรค พร้อมแนะนำวิธีดูแลสภาพจิตใจพื้นฐานกับไซโคไบโอติก โพรไบโอติกช่วยโรคซึมเศร้า

โพรไบโอติกกับโรคเครียดและอาการนอนไม่หลับ

27 ธันวาคม 2023

  |  

เคล็ดลับ ดูแลสุขภาพ

ทำความรู้จักกับโรคเครียดและอาการนอนไม่หลับ สาเหตุ และอันตรายของโรค พร้อมแนะนำวิธีดูแลสภาพจิตใจพื้นฐานกับโพรไบโอติกช่วยปรับอารมณ์ ลดความเครียด และช่วยให้นอนหลับได้ดียิ่งขึ้น

8 อาหารที่ควรเลี่ยง เสี่ยงตกขาว

27 ธันวาคม 2023

  |  

ความรู้อาหาร และโภชนาการ

การมีตกขาวนับเป็นเรื่องปกติสำหรับผู้หญิง ที่มักจะเกิดขึ้นในทุกๆ เดือน ไม่ว่าจะเป็นในระหว่างช่วงรอบประจำเดือนหรือตั้งครรภ์ อย่างไรก็ตาม อาการตกขาวอาจเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่า เรากำลังมีปัญหาสุขภาพช่องคลอดก็เป็นได้

รวม 5 วิธีลดน้ำหนักง่ายๆ ด้วยการคุมอาหาร

19 ธันวาคม 2023

  |  

ความรู้อาหาร และโภชนาการ

มาสำรวจวิธีการลดน้ำหนักผ่านการควบคุมการรับประทานอาหารรูปแบบต่างๆ เพื่อประโยชน์ต่อร่างกายและสุขภาพที่แข็งแรง พร้อมรู้จักกับโพรไบโอติกลดน้ำหนัก

ซึมเศร้าอาการซ่อนเร้น…เอ๊ะ เราเป็นหรือเปล่า

29 พฤศจิกายน 2023

  |  

เคล็ดลับ ดูแลสุขภาพ

Zenbio พามาทำความรู้จักกับโรคซึมเศร้าซ่อนเร้นที่หลายคนอาจยังไม่เคยทราบแตกต่างจากโรคซึมเศร้าอย่างไร พร้อมหาคำตอบกันว่าโพรไบโอติกช่วยลดซึมเศร้าได้จริงหรือไม่