รายละเอียดบทความ

ตั้งครรภ์กินโพรไบโอติกได้ไหม?

ตุลาคม 18, 2023

แชร์ไปยังโซเชียลมีเดีย:

ตั้งครรภ์กินโพรไบโอติกได้ไหม
ตั้งครรภ์กินโพรไบโอติกได้ไหม

โพรไบโอติก (Probiotics) นับเป็นหนึ่งในสิ่งที่ได้รับความสนใจอย่างมาก เพราะจุลินทรีย์ขนาดเล็กเหล่านี้สามารถช่วยส่งเสริมการทำงานด้านต่างๆ ของร่างกายให้เป็นปกติ โดยเฉพาะกับระบบทางเดินอาหาร เช่น กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก และลำไส้ใหญ่ ช่วยในการย่อยอาหาร รักษาและบรรเทาอาการท้องผูก เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน[1] และด้านสุขภาพจิต[2] นอกจากนี้ โพรไบโอติกยังถูกนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายในการลดความรุนแรงและความเสี่ยงของการเกิดโรคต่างๆ ปัจจุบันมีงานวิจัยที่ศึกษาถึงประโยชน์ของโพรไบโอติกในโรคและ/หรือสภาวะที่มีความซับซ้อนมากขึ้น ด้วยข้อดีมากมายเหล่านี้ จึงทำให้หลายคนหันมารับประทานอาหารที่มีโพรไบโอติกกันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น โยเกิร์ต กิมจิ คอมบูชา (ชาหมัก) ผักดอง ฯลฯ สามารถดูภาพสรุปประโยชน์ที่มีข้อมูลทางคลินิกในระดับทดลองใช้จริงที่น่าเชื่อถือมาสนับสนุนประสิทธิภาพในการใช้แก้ปัญหาสุขภาพในด้านต่างๆ ที่ด้านล่างนี้

รวมประโยชน์โพรไบโอติก-รวมประโยชน์โปรไบโอติก
รวมประโยชน์โพรไบโอติก-รวมประโยชน์โปรไบโอติก

ความนิยมดังกล่าวทำให้ได้รับความสนใจจากคนส่วนใหญ่ แม้กระทั่งกลุ่มคุณแม่ตั้งครรภ์ที่แต่เดิมต้องใส่ใจสุขภาพตัวเองและทารกในครรภ์ หันมาให้ความสนใจในโพรไบโอติกมากขึ้น ซึ่งปัจจุบันมีงานวิจัยต่างๆ ที่ออกมาระบุว่าโพรไบโอติกมีประโยชน์ต่อผู้หญิงตั้งครรภ์[3] แต่สำหรับผู้ที่กำลังเตรียมตัวเป็นคุณแม่หรือสงสัยว่าตั้งครรภ์กินโพรไบโอติกได้ไหม ประโยชน์ของโพรไบโอติกสำหรับทารกมีอะไรบ้าง ในบทความนี้ Zenbio จะพาผู้อ่านทุกท่านมาไขข้อสงสัยเหล่านี้ให้กระจ่าง

โพรไบโอติกคืออะไร? ว่าที่คุณแม่กินได้หรือไม่?

โพรไบโอติกคืออะไร? ว่าที่คุณแม่กินได้หรือไม่?

โพรไบโอติก (Probiotics) คือ จุลินทรีย์ขนาดเล็กชนิดดีที่อาศัยอยู่ในระบบทางเดินอาหารของร่างกายมนุษย์ ซึ่งมีหลากหลายสายพันธุ์และมีประโยชน์ต่อสุขภาพในด้านต่างๆ มากมาย ทั้งนี้ ความกังวลหลักของคุณแม่หลายคนคงหนีไม่พ้นคำถามที่ว่า ตั้งครรภ์กินโพรไบโอติกได้ไหม คำตอบคือ รับประทานได้แน่นอน อีกทั้งยังปลอดภัยและมีส่วนช่วยว่าที่คุณแม่ในด้านต่างๆ ด้วย เช่น

  • ลดอาการท้องผูกระหว่างตั้งครรภ์

ผู้หญิงหลายคนมักประสบปัญหาท้องผูกระหว่างตั้งครรภ์ ซึ่งมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย ทั้งการขยายตัวของมดลูกจนทำให้เกิดการกดทับลำไส้ใหญ่ การเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในร่างกายเมื่อตั้งครรภ์ ทำให้การทำงานของลำไส้ช้าลง และการขาดการออกกำลังกาย[4] ซึ่งการรับประทานอาหารที่มีโพรไบโอติก ถือเป็นการเพิ่มจำนวนแบคทีเรียดีในระบบทางเดินอาหาร (Gut Microbiome)[5] ช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบย่อยอาหารและระบบขับถ่าย บรรเทาอาการท้องผูกระหว่างตั้งครรภ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  • ช่วยร่างกายดูดซึมสารอาหาร

เป็นที่ทราบกันดีว่าคุณแม่ตั้งครรภ์ต้องการสารอาหารต่างๆ มากกว่าปกติ เพื่อใช้ในการหล่อเลี้ยงทารกในครรภ์ เช่น ธาตุเหล็ก แคลเซียม วิตามินดี วิตามินซี กรดไขมันโอเมกา-3 กรดโฟลิก โคลีน เป็นต้น โดยโพรไบโอติกบางสายพันธุ์ อย่าง Bifidobacterium lactis HN019 และ Lactobacillus acidophilus NCFM มีส่วนช่วยในการดูดซึมสารอาหารที่รับประทานเข้าไปได้ดี โดยเฉพาะธาตุเหล็กและแคลเซียม[6]

  • เพิ่มภูมิคุ้มกันแก่ร่างกายและปรับสมดุลระบบทางเดินอาหาร

ระบบภูมิคุ้มกันเป็นอีกหนึ่งเรื่องสำคัญที่คุณแม่ตั้งครรภ์ต้องใส่ใจเป็นพิเศษ เนื่องจากการตั้งครรภ์สามารถส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง ไวรัสและแบคทีเรียต่างๆ สามารถทำให้ว่าที่คุณแม่เจ็บป่วยได้ง่ายขึ้น อีกทั้งยังมีโอกาสที่โรคจะส่งผลกระทบต่อเด็กในครรภ์[7] ซึ่งการพักผ่อนให้เพียงพอและทานอาหารให้ครบห้าหมู่นั้นเป็นแนวทางที่ดีในการส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกัน ทั้งนี้โพรไบโอติกยังเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่แนะนำให้คุณแม่ตั้งครรภ์รับประทาน เพื่อเพิ่มภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย เพราะ 70% ของจุลินทรีย์ทั้งหมดในร่างกายคนเราอยู่ที่ลำไส้และระบบทางเดินอาหาร และ 80% ของระบบภูมิคุ้มกันร่างกายอยู่ที่ระบบทางเดินอาหาร การเสริมโพรไบโอติกส์ จุลินทรีย์ชนิดดีเข้าไป จะช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ป้องกันการเจ็บป่วยหรือภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้น[8] 

จะเห็นได้ว่าโพรไบโอติกนั้นเป็นประโยชน์ต่อคุณแม่ตั้งครรภ์มากแค่ไหนที่มองข้ามไปไม่ได้เลยทีเดียว

ประโยชน์ของโพรไบโอติกสำหรับทารก 

ประโยชน์ของโพรไบโอติกสำหรับทารก 

นอกจากจะช่วยเรื่องสุขภาพและระบบต่างๆ ของว่าที่คุณแม่แล้ว โพรไบโอติกยังดีต่อเด็กในครรภ์และเด็กแรกเกิดอีกด้วย ซึ่งประโยชน์ของโพรไบโอติกสำหรับทารก ได้แก่

  • ลดโอกาสการเกิดผื่นแพ้ผิวหนังในเด็ก

โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง (Eczema) เป็นโรคที่พบได้บ่อยในเด็ก ช่วงก่อนวัย 1 ปี หากไม่รีบรักษาอาจส่งเป็นเรื้อรังจนถึงอนาคตได้ ซึ่งเด็กจะมีผื่นแดงขึ้นตามบริเวณต่างๆ ของร่างกาย อาการคัน ผิวหนังอักเสบเรื้อรังเป็นๆ หายๆ[9] มีโอกาสส่งผลให้เด็กเป็นโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังเรื้อรังหรือ Atopic Dermatitis[10] ในอนาคต ซึ่งการที่คุณแม่รับประทานอาหารที่มีโพรไบโอติกเป็นประจำระหว่างการตั้งครรภ์จะสามารถช่วยลดโอกาสที่เด็กจะเกิดโรคดังกล่าว

โดยการศึกษาการทดลองแบบสุ่มที่มีกลุ่มควบคุม (Randomized controlled trials; RCT) เป็นสตรีมีครรภ์อายุครรภ์ไม่เกิน 36 สัปดาห์ จำนวน 415 คน แบ่งเป็นกลุ่มที่ให้ดื่มนมที่มีโพรไบโอติก อีกกลุ่มดื่มนมที่ไม่มีโพรไบโอติกทุกวัน  พบว่าเมื่อเด็กมีอายุ 2 ปีในกลุ่มที่แม่ดื่มนมที่มีโพรไบโอติกนั้นมีความเสี่ยงเป็นโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังน้อยกว่ากลุ่มที่แม่ดื่มนมที่ไม่มีโพรไบโอติก สรุปได้ว่าเด็กที่คลอดออกมามีภูมิคุ้มกันต่อโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง อีกทั้งยังไม่พบผลข้างเคียงใดๆ ต่อเด็กในครรภ์[11]

  • ส่งเสริมระบบต่างๆ ของเด็กทารก

ในเด็กทารกที่เพิ่งคลอด ระบบภูมิคุ้มกันยังไม่แข็งแรงมากนัก ฉะนั้นเด็กๆ เหล่านี้ต้องการโพรไบโอติกเพื่อช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน โดยแหล่งอาหารที่มีโพรไบโอติกที่ดีที่สุดสำหรับเด็กคือ นมแม่ โดยโพรไบโอติกในนมแม่มีทั้งสายพันธุ์ Lactobacillus reuteri (L. reuteri)[12], Lactobacillus rhamnosus (L. rhamnosus)[13], Bifidobacterium lactis (B. lactis)[14] และ Bifidobacterium longum (B. longum)[15]

ซึ่งสายพันธุ์โพรไบโอติกที่กล่าวไปข้างต้น ล้วนเป็นสายพันธุ์ที่เป็นมิตรต่อร่างกาย ช่วยพัฒนาระบบทางเดินอาหารของทารกแรกเกิดจนถึง 1 ขวบ ลดโอกาสที่เด็กจะท้องร่วงเฉียบพลันจากเชื้อไวรัส[16] ลดโอกาสเกิดภาวะลำไส้เน่าอักเสบ (Necrotizing Enterocolitis) ในทารกที่คลอดก่อนกำหนด[17] อีกหนึ่งประโยชน์ของโพรไบโอติกสำหรับทารก คือ การช่วยลดโอกาสที่เด็กจะเกิดโรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ (Respiratory Tract Infections: RTIs)[18] ซึ่งถือเป็นหนึ่งในโรคที่อันตราย มีอัตราการป่วยและอัตราการเสียชีวิตสูง

สุดท้ายนี้ การที่ลูกได้รับนมแม่ โพรไบโอติกจากนมที่ผ่านทางปากเข้าสู่ลำไส้ใหญ่ จะเป็นตัวช่วยสำคัญที่เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน[19] ทำให้สุขภาพร่างกายแข็งแรงเมื่อโตขึ้น

สรุปแล้ว คนท้องกินโพรไบโอติกได้ไหม?

จากงานวิจัย คุณแม่สามารถทานโพรไบโอติกได้ระหว่างตั้งครรภ์จนถึงคลอด ส่วนคุณแม่ท่านใดที่กำลังสงสัยว่าถ้าให้นมลูกกินโพรไบโอติกได้ไหม ขอตอบว่ากินได้ เพราะจากการศึกษา ไม่พบอาการไม่พึงประสงค์ใดๆ ต่อแม่และเด็ก[20] จึงหมดกังวลได้เลย

จบไปแล้วกับคำตอบของคำถาม ตั้งครรภ์กินโพรไบโอติกได้ไหม ที่หลายคนสงสัย ซึ่งนอกจาก ว่าที่คุณแม่จะทานโพรไบโอติกเพื่อเป็นการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันแล้ว ก็ควรรับประทานอาหารอื่นๆ ให้ครบ 5 หมู่ และเพียงพอต่อความต้องการของร่างกายและบุตรในครรภ์อีกด้วย นอกจากนี้ ว่าที่คุณแม่ควรที่จะปรึกษาแพทย์ก่อนกินโพรไบโอติกทุกครั้งเพื่อความปลอดภัยและสุขภาพที่ดีของว่าที่คุณแม่เองและลูกในอนาคต

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารโพรไบโอติก ที่มีสายพันธุ์เฉพาะ บิฟิโดแบคทีเรียม แล็กทิส เอชเอ็น019 (Bifidobacterium Lactis HN019) ได้ที่ลิงค์นี้
www.zenbiohealth.com/th/pro-bl8-th-โพรไบโอติก

อ้างอิง[1] [2][3] [4] [5] [6] [7] [8][9][10] [11][12][13][14][15][16][17][18][19][20]

ตั้งครรภ์กินโพรไบโอติกได้ไหม?

โพรไบโอติกคนท้อง, คนท้องกินโพรไบโอติกได้มั๊ย, ตั้งครรภ์กินโพรไบโอติกได้มั๊ย, แพ้ท้องกินโพรไบโอติกได้ไหม, โพรไบโอติกสำหรับคนท้อง, โพรไบโอติกสำหรับคุณแม่, โพรไบโอติกสำหรับการตั้งครรภ์

บทความที่เกี่ยวข้อง

เซนไบโอจัดแสดงสินค้าที่ สำนักวิชาเวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

22 มกราคม 2024

  |  

ข่าวสาร , กิจกรรม

เซนไบโอ ได้แนะนำ ผลิตภัณฑ์โพรไบโอติกส์ Zenbio ProBL8 ที่สำนักวิชาเวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง กรุงเทพฯ

เจาะลึกโรคซึมเศร้าและประโยชน์ไซโคไบโอติก (Psychobiotics)

11 มกราคม 2024

  |  

เคล็ดลับ ดูแลสุขภาพ

ทำความรู้จักกับโรคซึมเศร้าแต่ละประเภท สาเหตุ และอันตรายของโรค พร้อมแนะนำวิธีดูแลสภาพจิตใจพื้นฐานกับไซโคไบโอติก โพรไบโอติกช่วยโรคซึมเศร้า

โพรไบโอติกกับโรคเครียดและอาการนอนไม่หลับ

27 ธันวาคม 2023

  |  

เคล็ดลับ ดูแลสุขภาพ

ทำความรู้จักกับโรคเครียดและอาการนอนไม่หลับ สาเหตุ และอันตรายของโรค พร้อมแนะนำวิธีดูแลสภาพจิตใจพื้นฐานกับโพรไบโอติกช่วยปรับอารมณ์ ลดความเครียด และช่วยให้นอนหลับได้ดียิ่งขึ้น

8 อาหารที่ควรเลี่ยง เสี่ยงตกขาว

27 ธันวาคม 2023

  |  

ความรู้อาหาร และโภชนาการ

การมีตกขาวนับเป็นเรื่องปกติสำหรับผู้หญิง ที่มักจะเกิดขึ้นในทุกๆ เดือน ไม่ว่าจะเป็นในระหว่างช่วงรอบประจำเดือนหรือตั้งครรภ์ อย่างไรก็ตาม อาการตกขาวอาจเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่า เรากำลังมีปัญหาสุขภาพช่องคลอดก็เป็นได้

รวม 5 วิธีลดน้ำหนักง่ายๆ ด้วยการคุมอาหาร

19 ธันวาคม 2023

  |  

ความรู้อาหาร และโภชนาการ

มาสำรวจวิธีการลดน้ำหนักผ่านการควบคุมการรับประทานอาหารรูปแบบต่างๆ เพื่อประโยชน์ต่อร่างกายและสุขภาพที่แข็งแรง พร้อมรู้จักกับโพรไบโอติกลดน้ำหนัก

ซึมเศร้าอาการซ่อนเร้น…เอ๊ะ เราเป็นหรือเปล่า

29 พฤศจิกายน 2023

  |  

เคล็ดลับ ดูแลสุขภาพ

Zenbio พามาทำความรู้จักกับโรคซึมเศร้าซ่อนเร้นที่หลายคนอาจยังไม่เคยทราบแตกต่างจากโรคซึมเศร้าอย่างไร พร้อมหาคำตอบกันว่าโพรไบโอติกช่วยลดซึมเศร้าได้จริงหรือไม่