รายละเอียดบทความ

รู้ลึก รู้จริง ประโยชน์ของโพรไบโอติกส์ ในระบบทางเดินอาหาร

ตุลาคม 25, 2023

แชร์ไปยังโซเชียลมีเดีย:

ระบบทางเดินอาหาร-ประโยชน์โพรไบโอติกช่วยลำไส้-ช่วยรักษากระเพาะ

บทความโดย ดร.วริทธิ์ ศรีสุขทวีรัตน์

หากกล่าวถึงระบบภายในร่างกายที่มีความสำคัญ หนึ่งในนั้นคงต้องกล่าวถึง ระบบทางเดินอาหาร หลายคนมีความเข้าใจถึงระบบทางเดินอาหาร ว่ามีเพียงหน้าที่ย่อยและดูดซึมสารอาหารที่บริโภคเข้าไปเพียงอย่างเดียว ซึ่งหากบริโภคอาหารที่ดีก็จะได้สารอาหารที่ดีแก่ร่างกาย ในทางกลับกันหากบริโภคตามใจปากโดยที่ปราศจากการเลือกสรรก็อาจจะได้สารอาหารที่เป็นโทษแก่ร่างกายมากกว่าประโยชน์ นอกเหนือจากความเข้าใจที่กล่าวไปข้างต้น หากมีการเจาะลึกลงไปในระบบทางเดินอาหารนั้น มีส่วนสำคัญต่อร่างกายอีกหนึ่งส่วนหลักคือ ระบบภูมิคุ้มกันภายในร่างกาย โดยระบบทางเดินอาหารถือว่าเป็นด่านแรกของระบบภูมิคุ้มกันภายในร่างกาย และยังเป็นแหล่งรวมของเซลล์ภูมิคุ้มกันภายในร่างกาย การดูแลระบบทางเดินอาหารให้แข็งแรงนั้นจึงมีผลต่อระบบภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง และยังส่งผลต่อสุขภาพองค์รวม หากมีปัญหาในส่วนของระบบทางเดินอาหารมักส่งผลต่อสุขภาพองค์รวม
การดูแลระบบทางเดินอาหารจึงมีความจำเป็นโดยที่มีวิธีการหลากหลาย เช่น เลือกรับประทานอาหาร
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เป็นต้น เป็นปัจจัยหลักในการดูแลสุขภาพทางเดินอาหารที่ส่งผลต่อการลดเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ ซึ่งในหนึ่งในกลไกของระบบทางเดินอาหารที่มีผลต่อระบบภูมิคุ้มกันนั้นคือ จุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหาร 

โพรไบโอติกส์กับทางเดินอาหาร

จุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหาร แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มหลัก คือ จุลินทรีย์ที่เป็นอันตรายหรือก่อโรค จุลินทรีย์ที่ฉวยโอกาส และ จุลินทรีย์ที่ดี หรือเป็นที่รู้จักที่เรียกว่าโพรไบโอติกส์ (Probiotics) ซึ่งโพรไบโอติกส์อาจกล่าวได้ว่ามีบทบาทที่สำคัญในการในช่วยเสริมสร้างการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ก่อโรค และจุลินทรีย์ที่ฉวยโอกาส โดยที่ระบบภูมิคุ้มกันนั้นถูกควบคุมโดยจุลินทรีย์ในลำไส้ และเซลล์บริเวณผนังลำไส้บางชนิด ทั้ง innate immune และ adaptive immune ที่สำคัญยังพบว่า เซลล์ที่ชื่อว่า enterochromaffin cells เป็นเซลล์ในระบบทางเดินอาหาร ทำหน้าที่สร้าง สารสื่อประสาทที่ชื่อว่า Serotonin เป็นส่วนมากของร่างกาย โดยสาร Serotonin ในระบบทางเดินอาหารมีบทบาทในการเคลื่อนตัวของลำไส้ หากระบบทางเดินอาหารไม่แข็งแรง อาจเป็นหนึ่งสาเหตุหนึ่งที่ก่อให้เกิดโรคลำไส้เคลื่อนตัวผิดปกติได้ เช่น โรคลำไส้แปรปรวน (Irritable Bowel Syndrome: IBS)

นอกเหนือจากนั้นจะภูมิคุ้มกันในทางเดินอาหาร หากร่างกายมีจุลินทรีย์ที่ดีในระบบทางเดินอาหารมีความสมดุล จะมีส่วนสำคัญที่ช่วยในการทำงานของระบบทางเดินให้เป็นปกติ ไม่ว่าจะเป็น การย่อยอาหาร ดูดซึมสารอาหารเพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์ สังเคราะห์วิตามินที่จำเป็นต่อร่างกาย ช่วยในระบบขับถ่าย เป็นต้น ซึ่งล้วนเป็นปัจจัยที่ส่งเสริมการทำให้การทำงานของร่างกายให้เป็นไปตามปกติ ซึ่งจุลินทรีย์ที่ดี หรือ โพรไบโอติกส์ (Probiotics) ในลำไส้ประกอบไปด้วยหลากหลายสายพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในระบบทางเดินอาหารของมนุษย์ โดย โพรไบโอติกส์ (Probiotics) ที่อยู่ในทางเดินอาหารต้องมีความสมดุลในแต่ละสายพันธุ์ ซึ่งหากมีการรับประทานอาหาร หรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่เป็นโพรไบโอติกส์ (Probiotics) ชนิดใดชนิดหนึ่งมากเกินความจำเป็นอาจจะเป็นโทษได้ ซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะแบคทีเรียในลำไส้เจริญเติบโตมากเกินปกติ (SIBO) ซึ่งมักมีอาการต่าง ๆ ที่ตามมามากมาย เช่น มีอาการปวดท้อง ท้องเสีย สลับท้องผูก มีแก๊สในระบบทางเดินอาหาร เกิดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ เป็นต้นซึ่งมักส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกันและคุณภาพชีวิตของผู้ที่มีภาวะดังกล่าว

สมดุลจุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหารคืออะไร สำคัญอย่างไร

สมดุลจุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหารนั้นถือว่ามีความสำคัญต่อระบบในร่างกายหลายส่วน โดยมีปัจจัยที่ส่งผลต่อสมดุลในระบบทางเดินอาหาร เช่น อาหาร โรค ระบบควบคุมการเผาผลาญเป็นต้น
ซึ่งหากขาดสมดุลของจุลินทรีย์ไม่ได้รับการดูแล มักเป็นสาเหตุของการนำไปสู่ปัญหาต่าง ๆ ภายในร่างกาย เช่น อารมณ์แปรปรวน ภาวะซึมเศร้าหรือความวิตกกังวล ภาวะอ้วน โรคผิวหนัง โรคหัวใจ
หลอดเลือด และโรคเบาหวาน ปัญหาสุขภาพช่องปากเป็นต้น ซึ่งหากร่างกายเกิดขาดสมดุลจุลินทรีย์
ในระบบทางเดินอาหาร ร่างกายมักมีการแจ้งเตือนในลักษณะความผิดปกติต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น

  1. มีอาการผิดปกติของทางเดินอาหาร ไม่ว่าจะเป็นปวดท้อง ท้องผูก มีแก๊สในท้อง 
  2. มีน้ำหนักที่เปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะเป็นลดลง หรือเพิ่มขึ้น โดยที่ไม่มีสาเหตุ
  3. รู้สึกมีอาการเหนื่อยล้า (Chronic Fatigue)
  4. มีผื่นแพ้ขึ้นได้ง่าย
  5. มีการแพ้อาหารที่รับประทาน (Food allergy)
  6. มีอารมณ์แปรปรวน

ซึ่งลักษณะความผิดปกติที่เกิดขึ้นมักเกิดขึ้นจากขาดสมดุลจุลินทรีย์ภายในร่างกาย ซึ่งหากไม่ได้รับการดูแลมักจะส่งผลกระทบในระยะยาวซึ่งมักก่อให้เกิดโรคต่าง ๆ เกิดขึ้นมีมักเป็นโรคเรื้อรังและส่งผล
กระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย เช่น โรคลำไส้แปรปรวน (IBS) โรคเบาหวาน เป็นต้น

โรคหรืออาการทางเดินอาหารใดที่โพร์ไบโอติกส์สามารถช่วยบรรเทาและป้องกันได้

เชื้อจุลินทรีย์ในลำไส้สามารถช่วยควบคุมและลดความเสี่ยงของโรคได้หลายชนิด โดยเฉพาะอาการ
ท้องผูกซึ่งเกิดจากความไม่สมดุลของจุลินทรีย์ในระบบลำไส้ ซึ่งพบว่าจุลินทรีย์สายพันธุ์
Lactobacillus spp. และ Bifidobacterium spp. แต่การบรรเทาอาการท้องผูกก็แล้วแต่ละบุคคลบางคนอาจจะขาดเชื้อจุลินทรีย์บางสายพันธุ์ที่ไม่ตรงกับสายพันธุ์ที่ขาดก็อาจจะไม่แก้อาการท้องผูกได้ หรือแม้แต่ในคนที่มีภาวะจุลินทรีย์เจริญเติบโตในลำไส้เล็กส่วนต้น (SIBO) ที่มีการผลิตแก๊สมีเทนก็สามารถทำให้เกิดอาการท้องผูก ซึ่งกลุ่มอาการดังกล่าวโพรไบโอติกส์อาจจะไม่สามารถช่วยบรรเทาอาการได้มาก นอกจากนี้โพรไบโอติกส์ยังช่วยในการบรรเทาอาการท้องเสียและถ่ายเหลวโดยมักใช้ Lactobacillus spp. เช่นเดียวกัน หรืออาจมีการใช้ Saccharomyces spp. ซึ่งเป็นกลุ่มเชื้อราในการช่วยบรรเทาอาการท้องเสียและถ่ายท้องซึ่งมีใช้กันอย่างแพร่หลายในท้องตลาด นอกจากนี้ยังมีการใช้เพื่อป้องกันภาวะท้องเสียจากการได้รับยาปฏิชีวนะ Antibiotic induce diarrhea ซึ่งมักพบในคนไข้ในโรงพยาบาลที่ต้องใช้ยาปฏิชีวนะเป็นระยะเวลานานทำให้เชื้อจุลินทรีย์ที่ดีในลำไส้ถูกทำลายลดความหลากหลายลงไปทำให้ง่ายต่อการเกิดภาวะท้องเสียดังกล่าว และยังมีการกล่าวถึงการใช้โพรไบโอติกส์ในการควบคุมหรือป้องกันโรคมะเร็งลำไส้และทางเดินอาหาร แต่การเกิดโรคมะเร็งนั้นมีหลายปัจจัยแค่โพรไบโอติกส์อย่างเดียวอาจจะยังไม่เพียงพอต้องดูปัจจัยเรื่องการรับประทานอาหาร พันธุกรรม เข้ามาพิจารณาประกอบด้วยเสมอ

การเสียสมดุลของโพรไบโอติกส์ในระบบทางเดินอาหารก็อาจมีผลต่อการควบคุมระบบภูมิคุ้มกัน เช่นระบบภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง (auto immune) และภูมิแพ้  (allergy) ซึ่งพบว่าการได้รับ
โพรไบโอติกส์ที่ดี หรือการควบคุมสมดุลระบบลำไส้ให้เป็นปกติมีความหลากหลายของเชื้อจุลินทรีย์ก็จะมีผลทำให้ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นสามารถควบคุมอาการได้ นอกเหนือไปจากเรื่องระบบภูมิคุ้มกันยังมีผลต่อการควบคุมโรคที่เกี่ยวกับระบบการเผาผลาญ เช่น ไขมันเกาะตับ ภาวะดื้อต่ออินซูลิน ระดับไขมันในเลือด และโรคอ้วน พบว่าเชื้อจุลินทรีย์มีผลต่อการส่งเสริมการเกิดโรคและการควบคุมโรคดังกล่าวได้ เคยมีการทำงานวิจัยในหนูที่ให้เชื้อโพรไบโอติกส์ของหนูที่ไม่อ้วน ปลูกถ่ายไปยังหนูที่อ้วน พบว่าหนูที่ได้รับการปลูกถ่ายมีน้ำหนักตัวลดลง และควบคุมค่าเมตะบอลิกต่าง ๆ ได้จึงทำให้กล่าวได้ว่าการควบคุมระบบสมดุลของเชื้อโพรไบโอติกส์ในทางเดินอาหารจะช่วยควบคุมสมดุลระบบการเผาผลาญของร่างกายด้วย

เพิ่มโพรไบโอติกส์ได้อย่างไร

การเพิ่มโพรไบโอติกส์ให้แก่ร่างกาย โดยทั่วไปอาจแบ่งออกเป็นการเพิ่มโพรไบโอติกส์โดยการรับประทานเชื้อเข้าไปโดยตรง ซึ่งจะสามารถได้รับโพรไบโอติกส์จากการรับประทานอาหารประเภทที่ผ่านกระบวนการหมัก เช่น โยเกิร์ต นมเปรี้ยว มิโสะ กิมจิ นัตโตะ เป็นต้น โดยเราสามารถพบได้มากในท้องตลาด ส่วนอาหารที่เป็นอาหารหมักพื้นบ้านของไทยที่สามารถหารับประทานได้ทั่วไปคือ ขนมจีน ทั้งในรูปแบบของเส้นที่เกิดจากกระบวนการหมัก และเป็นลักษณะเส้นสด และอาหารพื้นบ้านอีกชนิดหนึ่งนั้นคือ ข้าวหมาก เห็นได้ว่าอาหารที่อุดมไปด้วยโพรไบโอติกส์นั้นมีความสัมพันธ์กับกระบวนการผลิตอาหาร คือการหมัก นอกเหนืออาหารทั่วไปที่เราสามารถเพิ่มโพรไบโอติกส์ให้แก่ร่างกายเราได้ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเป็นอีกทางเลือกให้แก่ผู้บริโภคที่จะต้องการเพิ่มปริมาณโพรไบโอติกส์ให้ร่างกาย ซึ่งสามาถหาซื้อได้ง่ายและมีให้เลือกทั้งในรูปแบบแคปซูล และรูปแบบผงชงดื่ม และที่สำคัญมีเชื้อจุลินทรีย์โพรไบโอติกส์ให้เลือกหลายสายพันธุ์ ตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุขที่ปัจจุบันมีประกาศให้สามารถใช้
เชื้อจุลินทรีย์โพรไบโอติกส์ได้ 24 ชนิด

นอกเหนือจากรายชื่อเชื้อจุลินทรีย์โพรไบโอติกส์แล้ว ยังมีข้อกำหนดเรื่องของคุณภาพเรื่องของเชื้อนั้นคือ ปริมาณจุลินทรีย์ โพรไบโอติกส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ของแต่ละชนิด ต้องยังคงเหลืออยู่ไม่น้อยกว่า 106  CFU ต่อ 1 กรัม ตลอดอายุการเก็บรักษา ดังนั้นการเลือกรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ช่วยเพิ่มปริมาณโพรไบโอติกส์ให้แก่ร่างกาย เป็นทางเลือกหนึ่งที่ช่วยเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ที่ในร่างกาย และยังสามารถเลือกผลิตภัณฑ์ที่เป็นเชื้อเดี่ยว หรือผลิตภัณฑ์เชื้อหรือสายพันธุ์ ที่เหมาะสำหรับแต่ละบุคคล โดยหากพูดถึง อาหารแต่ละประเภทอาจจะมีเชื้อโพรไบโอติกส์แตกต่างกันออกไป เช่น นมเปรียวจะมีจุลินทรีย์สายพันธ์ Lactobacillus ถั่วนัตโตะจะมีสายพันธ์ Bifidobacterium เป็นต้น ดังนั้นหลักการควรต้องรับประทานอาหารที่หลากหลายเพื่อให้ได้เชื้อโพรไบโอติกส์ที่หลากหลาย เพราะเชื้อแต่ละสายพันธุ์มีผลต่อร่างกายที่แตกต่างกัน

การเติมเชื้อจุลินทรีย์ที่ดีตามธรรมชาติที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือการเติมอาหารให้กับจุลินทรีย์โดยการรับประทานพรีไบโอติกส์ ซึ่งจะเป็นการให้สารอาหารที่ให้กับเชื้อทางอ้อม ที่เรารู้จักกันเป็นอย่างดีคือเส้นใยอาหาร ไฟเบอร์ โดยมักพบพรีไบโอติกส์ได้ในกลุ่มผัก ผลไม้ ข้าว ธัญพืช เป็นหลัก เช่น แก่นตะวัน กระเทียม ข้าวโอ๊ต เมล็ดมะม่วงหิมพานต์ พิตาชิโอ เป็นต้น โดยเมื่อรับประทานเข้าไปร่างกายมนุษย์อาจใช้ไม่ได้ดีในทางตรงแต่จะเป็นประโยชน์ในแง่ของการเป็นอาหารที่ดีให้กับเชื้อจุลินทรีย์โพรไบโอติกส์ ที่ช่วยในการเจริญเติบโตและทำให้โพรไบโอติกส์แข็งแรง ส่งผลต่อการทำงานในระบบทางเดินอาหาร และร่างกาย

ข้อสรุป

นอกเหนือจากการที่ได้รับเชื้อจุลินทรีย์โพรไบโอติกส์ที่มีความหลากหลายสายพันธุ์ ไม่ว่าจะเป็นทางอาหารหรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารให้พอดีต่อความต้องการ เพื่อให้เกิดสมดุลของจุลินทรีย์ในระบบทางเดินอาหาร อาหารของเชื้อจุลินทรีย์หรือพรีไบโอติกส์ ก็เป็นอีกส่วนสำคัญที่ทำให้การเชื้อจุลินทรีย์ที่ดีทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยส่งเสริมการทำงานของระบบทางเดินอาหารได้เป็นอย่างดี

เอกสารอ้างอิง

  1. Liu Y, Tran DQ, Rhoads JM. Probiotics in Disease Prevention and Treatment. J Clin Pharmacol. 2018 Oct;58 Suppl 10(Suppl 10):S164-S179. doi: 10.1002/jcph.1121.
  2. Olvera-Rosales LB, Cruz-Guerrero AE, Ramírez-Moreno E, Quintero-Lira A, Contreras-López E, Jaimez-Ordaz J, Castañeda-Ovando A, Añorve-Morga J, Calderón-Ramos ZG, Arias-Rico J, González-Olivares LG. Impact of the Gut Microbiota Balance on the Health-Disease Relationship: The Importance of Consuming Probiotics and Prebiotics. Foods. 2021 Jun 2;10(6):1261. doi: 10.3390/foods10061261.
  3. Wang X, Zhang P, Zhang X. Probiotics Regulate Gut Microbiota: An Effective Method to Improve Immunity. Molecules. 2021 Oct 8;26(19):6076. doi: 10.3390/molecu

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ โพรไบโอติกส์ได้ที่

  1. รู้จักกับโพรไบโอติกส์จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ https://www.zenbiohealth.com/th/โพรไบโอติก-คือ/
  2. โพรไบโอติกส์กับการเสริมสร้าง ภูมิคุ้มกัน https://www.zenbiohealth.com/th/สร้างภูมิคุ้มกัน/
  3. รู้จักกับจุลินทรีย์ชนิดดี B. lactis HN019 และประโยชน์ต่อระบบภูมิคุ้มกันและทางเดินอาหาร https://www.zenbiohealth.com/บิฟิโดแบคทีเรียม-แล็กทิส/
  4. ทำความรู้จักกับประโยชน์ของจุลินทรีย์ “แลคโตบาซิลลัส แอซิโดฟิลัส”สายพันธุ์ NCFM
    https://www.zenbiohealth.com/lactobacillus-acidophilus-ncfm/

สนใจติดต่อ หรือติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่
📢 Facebook: https://www.facebook.com/zenbiohealth
📲 Call: 02 727 7521
📧 Email: [email protected]

โพรไบโอติก ยี่ห้อ ไหนดี, อาหารเสริม, ทาน แล้ว เห็นผล, โพรไบโอติกดีที่สุด, best probiotic, อาหารเสริมโพรไบโอติก, เลือกยี่ห้อไหนดี, ยี่ห้อไหนดีสุด, Zenbio, พรีไบโอติก, ซินไบโอติก, อาหารเสริมธรรมชาติ

บทความที่เกี่ยวข้อง

เซนไบโอจัดแสดงสินค้าที่ สำนักวิชาเวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

22 มกราคม 2024

  |  

ข่าวสาร , กิจกรรม

เซนไบโอ ได้แนะนำ ผลิตภัณฑ์โพรไบโอติกส์ Zenbio ProBL8 ที่สำนักวิชาเวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง กรุงเทพฯ

เจาะลึกโรคซึมเศร้าและประโยชน์ไซโคไบโอติก (Psychobiotics)

11 มกราคม 2024

  |  

เคล็ดลับ ดูแลสุขภาพ

ทำความรู้จักกับโรคซึมเศร้าแต่ละประเภท สาเหตุ และอันตรายของโรค พร้อมแนะนำวิธีดูแลสภาพจิตใจพื้นฐานกับไซโคไบโอติก โพรไบโอติกช่วยโรคซึมเศร้า

โพรไบโอติกกับโรคเครียดและอาการนอนไม่หลับ

27 ธันวาคม 2023

  |  

เคล็ดลับ ดูแลสุขภาพ

ทำความรู้จักกับโรคเครียดและอาการนอนไม่หลับ สาเหตุ และอันตรายของโรค พร้อมแนะนำวิธีดูแลสภาพจิตใจพื้นฐานกับโพรไบโอติกช่วยปรับอารมณ์ ลดความเครียด และช่วยให้นอนหลับได้ดียิ่งขึ้น

8 อาหารที่ควรเลี่ยง เสี่ยงตกขาว

27 ธันวาคม 2023

  |  

ความรู้อาหาร และโภชนาการ

การมีตกขาวนับเป็นเรื่องปกติสำหรับผู้หญิง ที่มักจะเกิดขึ้นในทุกๆ เดือน ไม่ว่าจะเป็นในระหว่างช่วงรอบประจำเดือนหรือตั้งครรภ์ อย่างไรก็ตาม อาการตกขาวอาจเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่า เรากำลังมีปัญหาสุขภาพช่องคลอดก็เป็นได้

รวม 5 วิธีลดน้ำหนักง่ายๆ ด้วยการคุมอาหาร

19 ธันวาคม 2023

  |  

ความรู้อาหาร และโภชนาการ

มาสำรวจวิธีการลดน้ำหนักผ่านการควบคุมการรับประทานอาหารรูปแบบต่างๆ เพื่อประโยชน์ต่อร่างกายและสุขภาพที่แข็งแรง พร้อมรู้จักกับโพรไบโอติกลดน้ำหนัก

ซึมเศร้าอาการซ่อนเร้น…เอ๊ะ เราเป็นหรือเปล่า

29 พฤศจิกายน 2023

  |  

เคล็ดลับ ดูแลสุขภาพ

Zenbio พามาทำความรู้จักกับโรคซึมเศร้าซ่อนเร้นที่หลายคนอาจยังไม่เคยทราบแตกต่างจากโรคซึมเศร้าอย่างไร พร้อมหาคำตอบกันว่าโพรไบโอติกช่วยลดซึมเศร้าได้จริงหรือไม่