รายละเอียดบทความ

5 โรคต้องระวังที่มากับหน้าฝน แนะนำอาหารเสริม เพิ่มภูมิคุ้มกัน ป้องกันโรค

สิงหาคม 25, 2023

แชร์ไปยังโซเชียลมีเดีย:

รู้จักอาหารเสริม เพิ่มภูมิคุ้มกัน ที่ควรทานในหน้าฝน

ฤดูฝนอาจเป็นฤดูกาลที่หลายคนไม่ชอบ เพราะอากาศเย็น ฝนตกตอนเช้า พายุเข้าตอนกลางคืน จนทำให้การเดินทางต่างๆ ติดขัด เท่านั้นยังไม่พอ ฤดูฝนยังเป็นช่วงที่เชื้อโรคและแบคทีเรียเจริญเติบโตและแพร่กระจายได้ดี ส่งผลทำให้หลายคนทั้งเด็กและผู้ใหญ่มีอาการป่วย เป็นไข้ ไอ ไม่สบายง่าย ดังนั้น Zenbio จะพาทุกคนมารู้จัก 5 โรคระบาดที่มักเป็นในหน้าฝน วิธีการดูแลและป้องกันตัวเองในช่วงนี้ พร้อมแนะนำเมนูอาหารเสริม เพิ่มภูมิคุ้มกัน

อาหารเสริม เพิ่มภูมิคุ้มกันหน้าฝน มีอะไรบ้าง

5 โรคระบาดในช่วงหน้าฝน 

1. โรคไข้หวัดใหญ่ 

กลุ่มโรคระบบทางเดินหายใจสามารถพบได้ตลอดทั้งปีโดยเฉพาะหน้าฝน เกิดจากเชื้อไวรัส Influenza virus แพร่กระจายผ่านการหายใจ การไอหรือจาม การสัมผัสกับละอองหรือสารคัดหลั่งของผู้ป่วย อาการของโรคไข้หวัดใหญ่ ดูเผินๆ จะเหมือนไข้หวัดธรรมดา แต่อาการมักเกิดขึ้นอย่างฉับพลันและรุนแรงกว่าไข้หวัดธรรมดา ซึ่งผู้ป่วยจะมีอาการไข้สูง ปวดหัว อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยตามร่างกาย ไอ จาม น้ำมูกไหล และคัดจมูกร่วมด้วย สำหรับผู้ป่วยที่เป็นเด็กอาจเกิดอาการท้องเสียและอาเจียนได้อีกด้วย กรณีที่มีอาการไข้สูง วิธีลดไข้เร็วที่สุดคือการเช็ดตัว ผ้าสะอาดชุบน้ำบิดหมาดเช็ดบริเวณลำตัว ร่วมกับการกินยาลดไข้ ถ้าไข้ไม่ลด ควรรีบเข้าพบแพทย์โดยด่วน[10][14]

โรคระบาดในช่วงหน้าฝน มีอะไรบ้าง

2. โรคท้องร่วง

กลุ่มโรคระบาดทางเดินอาหาร โรคท้องร่วงแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ ท้องร่วงชนิดเฉียบพลันและท้องร่วงเรื้อรัง สาเหตุของโรคมีหลายปัจจัยแต่หนึ่งในสาเหตุซึ่งพบได้บ่อยกว่าสาเหตุอื่นๆ คือ เกิดขึ้นจากการรับประทานอาหารที่มีการปนเปื้อน ไม่ว่าจะเป็น เชื้อจุลินทรีย์ชนิดที่ก่อโรค, พยาธิบางชนิด, สารเคมี, ยา  เช่น ยาถ่าย ยาระบาย ยาปฏิชีวนะ และพืชพิษอย่างเห็ดบางชนิดหรือกลอย[15] ทำให้ระบบทางเดินอาหารทำงานผิดปกติ เกิดอาการท้องเดิน ท้องเสียเฉียบพลัน[4] ซึ่งอาจมีอาการปวดบิดในท้อง ถ่ายเหลวเป็นน้ำ มีไข้ และอาจมีมูกหรือเลือดปนอุจจาระร่วมด้วย หากมีอาการท้องเสียติดต่อกันเป็นเวลานานอาจทำให้เกิดภาวะขาดน้ำหรือเกลือแร่ จนช็อกและเสียชีวิตได้ ดังนั้นควรกินอาหารปรุงร้อน ใช้ช้อนกลางเมื่อกินร่วมกับผู้อื่น และล้างมือทำความสะอาดทุกครั้งก่อนหยิบจับอาหารเข้าปาก[15]

3. โรคตาแดง

โรคติดต่อที่เกิดจากกลุ่มไวรัสอะดีโน (Adenovirus) และกลุ่มไวรัสพิคอร์นา (picornavirus) โรคนี้สามารถติดต่อได้จากการสัมผัสโดยตรงหรือทางอ้อม เช่น สัมผัสถูกสิ่งของเครื่องใช้ที่แปดเปื้อนเชื้อหรือสัมผัสโดยการอยู่ใกล้ผู้ป่วยโรคตาแดง การแสดงอาการของการติดโรคคือ ลูกตาเป็นสีแดงจากหลอดเลือดฝอยขยายตัว ระคายเคือง แสบตา น้ำตาไหล มีขี้ตาเยอะกว่าปกติ บางรายอาจมีอาการแพ้แสง หนังตาบวม ต่อมน้ำเหลืองที่กกหูบวมและมีอาการเจ็บ รวมถึงมีอาการคล้ายไข้หวัด ไอ เจ็บคอ มีไข้ มีน้ำมูก และมีอาการปวดเมื่อยร่วมด้วย วิธีการป้องกันตนเองจากการติดโรคตาแดงเบื้องต้น แนะนำให้ระวังการสัมผัสกับผู้ป่วย ควรล้างมือบ่อยๆ ด้วยสบู่ ห้ามใช้มือขยี้ตา ไม่อยู่ใกล้ผู้ป่วยโรคตาแดง ไม่คลุกคลีหรืออยู่ในพื้นที่แออัด เช่น การนอนร่วมกับคนที่เป็นโรคนี้ หรือการเล่นน้ำในสระ ห้ามใช้ของใช้ร่วมกับผู้ป่วย เช่น แว่นตา ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดตัว หมอน แก้วน้ำ จาน ชาม โทรศัพท์ เป็นต้น[3]

4. โรคฉี่หนู

โรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อโรคเลปโตสไปโรซิส (Leptospirosis)[13] จากการสัมผัสปัสสาวะสัตว์ เช่น สุนัข แพะ หนู วัว และควาย เชื้อโรคจะเข้าสู่ร่างกายทางบาดแผล รอยถลอก หรืออาจเกิดจากการแช่น้ำขังหรือพื้นดินชื้นแฉะที่มีการปนเปื้อนปัสสาวะสัตว์ เช่น พื้นที่ฟาร์มการเกษตร ท้องนา น้ำท่อ เป็นต้น ผู้ป่วยจะมีอาการไข้สูงทันที ปวดหัว ปวดเมื่อยตามตัวในบริเวณน่องและโคนขา คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย บางรายอาจมีจุดเลือดออกตามผิวหนัง ไอมีเลือดปนหรือตัวเหลืองตาเหลือง มีเลือดออกในปอด กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ตับวาย ไตวาย และเสียชีวิตได้ ซึ่งเมื่อมีอาการเหล่านี้ควรพบแพทย์และให้แพทย์วินิจฉัยอาการและรับยารักษา ไม่ควรซื้อยารับประทานเอง เพราะโรคนี้ยิ่งพบแพทย์เร็วก็จะหายเร็ว[12]

5. โรคไข้เลือดออก

กลุ่มโรคติดต่อโดยยุงลาย เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเด็งกีโดยมียุงลายเป็นพาหะ ซึ่งผู้ป่วยจะมีอาการระยะแรก คือ ไข้สูงเฉียบพลัน 38-41 องศา อ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน มีผื่นขึ้น หน้าแดง ปวดท้องหรือท้องเสีย แต่ไม่มีน้ำมูกหรือไอ และระยะที่สองอาจมีอาการช็อก มือเท้าเย็น ชีพจรเต้นเร็ว ความดันโลหิตต่ำ ปัสสาวะน้อย ซึ่งควรเข้ารับการดูแลจากแพทย์เพราะหากพบแพทย์ช้าไป ก็อาจมีโอกาสเสียชีวิตได้ ดังนั้นจึงไม่ควรมีแหล่งน้ำขังในบ้าน เปลี่ยนน้ำในกระถางทุกอาทิตย์ ปิดฝาหรือภาชนะใส่น้ำทุกครั้ง รวมถึงการเก็บและดูแลบ้านให้สะอาด ไม่มีแหล่งน้ำขังเพื่อไม่ให้เป็นจุดวางไข่ของยุง[11]

นอกจาก 5 โรคติดต่อเหล่านี้แล้ว ยังมีอีกหลายโรคที่แพร่กระจายได้ เพราะความชื้นจากอากาศ ดังนั้นวิธีการดูแลในช่วงฝนตก สามารถทำได้ดังนี้

แนะนำ วิธีดูแลตัวเองในช่วงฝนตก

วิธีดูแลตัวเองในช่วงฝนตก[6] [7]

  1. การพกร่มหรือชุดกันฝนติดไว้ เพื่อป้องกันฝนหรือละอองฝนที่โดนศีรษะ เมื่อโดนฝนควรรีบกลับบ้านอาบน้ำทำความสะอาดร่างกาย สระผม เป่าผมให้แห้งทุกครั้ง เพื่อป้องกันโรคหวัด และไม่ควรให้ตัวเปียกหรือตากฝนเป็นเวลานาน เพราะอาจทำให้เกิดอาการปอดบวมหรือโรคที่เกิดจากการติดเชื้อราขึ้นได้
  2. ออกกำลังกายที่บ้าน ควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายในที่สาธารณะหรือฟิตเนส เพราะอาจได้รับเชื้อโรคได้ง่าย สามารถยืดเส้นก่อนและแกว่งแขนเบาๆ ที่บ้าน[9] หรือการเดินหรือวิ่งเบาๆ บนลู่วิ่ง ไปจนถึงการทำโยคะ เพื่อให้ร่างกายทำงานปกติและกระตุ้นการทำงานของอวัยวะต่างๆ
  3. สวมใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้ง เมื่อไปพื้นที่แออัดและหมั่นเปลี่ยนหน้ากากเมื่อหน้ากากชื้น เพื่อสุขอนามัยที่ดี
  4. นอนหลับให้เพียงพออย่างน้อย 6-8 ชั่วโมง เพราะช่วงเวลาที่นอนหลับ ร่างกายจะทำการซ่อมแซมเซลล์และฟื้นฟูการทำงานของระบบต่างๆ ให้เป็นปกติ
  5. รับประทานอาหารที่ปรุงสุก สดใหม่ ไม่ควรเป็นอาหารที่ทิ้งไว้นานหรือเย็น และเลือกอาหารที่มีสารอาหารครบ 5 หมู่ในปริมาณที่เหมาะสม หากต้องรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่น ควรใช้ช้อนกลางในการตักอาหาร
  6. ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ เพื่อรักษาสมดุลของร่างกาย เพิ่มการไหลเวียนของโลหิต ไม่ทำให้เซลล์ในร่างกายขาดน้ำ
  7. การเข้ารับวัคซีนต่างๆ เช่น วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ วัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบ เพื่อเป็นการกระตุ้นการทำงานของเซลล์เม็ดเลือดขาวให้ทำหน้าที่ต่อสู้กับเชื้อโรคและจดจำเชื้อโรค ลดความรุนแรงของโรคลงได้[8]
  8. หลีกเลี่ยงพื้นที่แฉะหรือมีน้ำขัง เพราะเป็นแหล่งเชื้อโรค หากไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ควรสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอย่างรองเท้าบูทหรือถุงมือและรีบทำความสะอาดด้วยสบู่และแอลกอฮอล์ในบริเวณที่สัมผัส

เลือกอาหารเสริม เพิ่มภูมิคุ้มกันในช่วงหน้าฝน

นอกจาก 8 วิธีการดูแลตัวเองแล้ว การเลือกทานผลิตภัณฑ์อาหารเสริม เพิ่มภูมิคุ้มกัน ก็ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ช่วยทำให้ร่างกายทำงานได้เป็นปกติ[5][8] โดย Zenbio ขอแนะนำอาหารเสริม เพิ่มภูมิคุ้มกันดังนี้

  1. วิตามินซี คือ แหล่งต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยป้องกันการเสื่อมโทรมของเซลล์ ช่วยส่งเสริมการทำงานของเม็ดเลือดขาวและกระบวนการทำลายเชื้อโรคต่างๆ อีกทั้งยังช่วยป้องกันหวัด กระตุ้นการสร้างคอลลาเจน และช่วยให้หลอดเลือดแข็งแรงได้
  2. วิตามินดี ช่วยในการดูดซึมแคลเซียมและรักษาระบบภูมิคุ้มกันให้เป็นปกติ พร้อมส่งเสริมการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันให้ดีขึ้น
  3. น้ำมันตับปลา อุดมไปด้วยวิตามินเอที่ช่วยต่อต้านการติดเชื้อ ช่วยให้การทำงานของระบบภูมิคุ้มกันเป็นปกติ 
  4. ธาตุเหล็ก ช่วยต้านอนุมูลอิสระของร่างกาย ทำให้ระบบต่างๆ ทำงานได้เป็นปกติ และยังช่วยทำลายเชื้อโรคที่เข้ามาในร่างกาย
  5. โพรไบโอติก คือ จุลินทรีย์ชนิดดีที่มีประโยชน์ต่อร่างกายในหลายด้าน ได้แก่
    • 5.1. ปรับสมดุลทางเดินอาหารให้ทำงานเป็นปกติ ซึ่งจะสัมพันธ์กับการเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้แข็งแรง (เพราะ 80% ของระบบภูมิคุ้มกันร่างกายอยู่ที่ระบบทางเดินอาหาร[16]) จึงเป็นสาเหตุที่โพรไบโอติก ป้องกันหวัด ได้จากการที่ระบบภูมิคุ้มกันแข็งแรง ทำให้เซลล์เม็ดเลือดขาวทำหน้าที่ป้องกันเชื้อโรค กำจัดสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาในร่างกาย และปกป้องร่างกายเมื่อมีเจ็บป่วยหรือการอักเสบได้ดียิ่งขึ้น ที่สำคัญเมื่อเราป่วยเป็นไข้ เราจะสามารถฟื้นตัวได้เร็วกว่าคนอื่นที่ภูมิคุ้มกันไม่แข็งแรง เป็นอีกหนึ่งวิธีลดไข้เร็วที่สุดโดยวิถีทางธรรมชาติ ทำให้เราไม่ต้องคอยพึ่งยาในการลดไข้ทุกครั้ง ซึ่งไม่ดีต่อร่างกาย
    • 5.2. เป็นแหล่งผลิตอาหารให้แก่ร่างกาย เช่น วิตามิน และกรดอะมิโนจำเป็น ช่วยย่อยและดูดซึมอาหาร
    • 5.3. ต่อต้านจุลินทรีย์ชนิดก่อโรคไม่ให้เข้ามาในทางเดินอาหาร (มีงานวิจัยรับรองแล้วว่า โพรไบโอติกสามารถช่วยเรื่องอาการท้องร่วงได้[17])

ซึ่งใครที่สนใจอาหารเสริมโพรไบโอติก สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่
www.zenbiohealth.com/th/pro-bl8-th-โพรไบโอติก/

อ้างอิง: 1 / 2 / 4 / 5 / 6 / 7 / 8 / 9 / 10 / 11 / 12 / 13 / 14 / 15 / 16 / 17

บทความที่เกี่ยวข้อง

เซนไบโอจัดแสดงสินค้าที่ สำนักวิชาเวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

22 มกราคม 2024

  |  

ข่าวสาร , กิจกรรม

เซนไบโอ ได้แนะนำ ผลิตภัณฑ์โพรไบโอติกส์ Zenbio ProBL8 ที่สำนักวิชาเวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง กรุงเทพฯ

เจาะลึกโรคซึมเศร้าและประโยชน์ไซโคไบโอติก (Psychobiotics)

11 มกราคม 2024

  |  

เคล็ดลับ ดูแลสุขภาพ

ทำความรู้จักกับโรคซึมเศร้าแต่ละประเภท สาเหตุ และอันตรายของโรค พร้อมแนะนำวิธีดูแลสภาพจิตใจพื้นฐานกับไซโคไบโอติก โพรไบโอติกช่วยโรคซึมเศร้า

โพรไบโอติกกับโรคเครียดและอาการนอนไม่หลับ

27 ธันวาคม 2023

  |  

เคล็ดลับ ดูแลสุขภาพ

ทำความรู้จักกับโรคเครียดและอาการนอนไม่หลับ สาเหตุ และอันตรายของโรค พร้อมแนะนำวิธีดูแลสภาพจิตใจพื้นฐานกับโพรไบโอติกช่วยปรับอารมณ์ ลดความเครียด และช่วยให้นอนหลับได้ดียิ่งขึ้น

8 อาหารที่ควรเลี่ยง เสี่ยงตกขาว

27 ธันวาคม 2023

  |  

ความรู้อาหาร และโภชนาการ

การมีตกขาวนับเป็นเรื่องปกติสำหรับผู้หญิง ที่มักจะเกิดขึ้นในทุกๆ เดือน ไม่ว่าจะเป็นในระหว่างช่วงรอบประจำเดือนหรือตั้งครรภ์ อย่างไรก็ตาม อาการตกขาวอาจเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่า เรากำลังมีปัญหาสุขภาพช่องคลอดก็เป็นได้

รวม 5 วิธีลดน้ำหนักง่ายๆ ด้วยการคุมอาหาร

19 ธันวาคม 2023

  |  

ความรู้อาหาร และโภชนาการ

มาสำรวจวิธีการลดน้ำหนักผ่านการควบคุมการรับประทานอาหารรูปแบบต่างๆ เพื่อประโยชน์ต่อร่างกายและสุขภาพที่แข็งแรง พร้อมรู้จักกับโพรไบโอติกลดน้ำหนัก

ซึมเศร้าอาการซ่อนเร้น…เอ๊ะ เราเป็นหรือเปล่า

29 พฤศจิกายน 2023

  |  

เคล็ดลับ ดูแลสุขภาพ

Zenbio พามาทำความรู้จักกับโรคซึมเศร้าซ่อนเร้นที่หลายคนอาจยังไม่เคยทราบแตกต่างจากโรคซึมเศร้าอย่างไร พร้อมหาคำตอบกันว่าโพรไบโอติกช่วยลดซึมเศร้าได้จริงหรือไม่