รู้จักกับโพรไบโอติกส์
จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์

รู้จักกับโพรไบโอติกส์ จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์

18 กรกฎาคม 2023

24 ก.พ. 2566 บทความโดย ผศ.ภญ.ศยามล สุขขา

โพรไบโอติกส์คืออะไร
และมีความสำคัญอย่างไร?

โพรไบโอติกส์ (Probiotics) คือเชื้อจุลินทรีย์ หรือแบคทีเรียดี ที่มีชีวิตที่มีประโยชน์ต่อร่างกายเมื่อได้รับในปริมาณที่เหมาะสม เราสามารถพบโพรไบโอติกส์ได้จากผลิตภัณฑ์ตามธรรมชาติ เช่น โยเกิร์ต อาหารที่ผ่านกระบวนการหมัก หรือจากผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร โดยปกติแล้วร่างกายจะมีทั้งจุลินทรีย์ชนิดเลว ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ชนิดที่ก่อให้เกิดโรค และจุลินทรีย์ชนิดดี ซึ่งจะอยู่ประจำถิ่นในร่างกาย ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้เป็นไปตามปกติ จุลินทรีย์ประจำถิ่นนี้มักพบได้มากในระบบทางเดินอาหาร ดังนั้นจุลินทรีย์ชนิดดีจึงมีความสำคัญอย่างมากต่อการปรับสมดุลในระบบทางเดินอาหาร รวมทั้งการย่อยอาหารต่าง ๆ ให้เป็นไปตามปกติ โพรไบโอติก คือ

รู้จักและเลือกโพรไบโอติกส์ จุลินทรีย์ที่ดีและมีประโยชน์

เลือกสายพันธุ์และปริมาณที่เหมาะสม เพื่อผลลัพธ์ที่ตรงจุด

Dark blue bg

Genus

Bifidobacterium

Species

lactis

Strain

HN019

บิฟิโดแบคทีเรียม
แล็กทิส

แล็กโทบาซิลลัส
แอซิโดฟิลัส

01

รู้จักสายพันธุ์ของโพรไบโอติกส์

ผลิตภัณฑ์โพรไบโอติกส์ควรมีการระบุชื่อจีนัส และสปีชีส์ รวมถึงชื่อทางวิทยาศาสตร์ ประโยชน์ของโพรไบโอติกส์แตกต่างกันตามชนิดของสายพันธุ์ ดังนั้นการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์โพรไบโอติกส์จึงควรให้ความสำคัญกับสายพันธุ์ (Strain) ของเชื้อจุลินทรีย์เพื่อให้ตอบโจทย์ประโยชน์ทางสุขภาพที่ตรงกับความต้องการเสมอ

Dark blue bg

เพิ่มภูมิคุ้มกัน และปรับสมดุลลำไส้

02

ปริมาณต้องเหมาะสม

จำนวนเชื้อของโพรไบโอติกส์ที่เหมาะสมต้องไม่มากหรือไม่น้อยเกินไป ข้อสำคัญประการหนึ่งคือจำนวนเชื้อแต่ละสายพันธุ์จะต้องไม่ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดพิษเมื่อได้รับเข้าสู่ร่างกาย

Dark blue bg

รับรองประสิทธิภาพ

03

โพรไบโอติกส์ต้องมีการศึกษาทาง คลินิคเพื่อรับรองประสิทธิภาพ

โพรไบโอติส์ที่ดีควรมีข้อมูลการศึกษาทางคลินิกของสายพันธุ์นั้นๆ (Strain) เพื่อยืนยันถึงประสิทธิภาพ และความปลอดภัย ให้ตอบโจทย์ประโยชน์ทางสุขภาพที่ตรงกับความต้องการเสมอ

Dark blue bg

04

เมื่อทานโพรไบโอติกส์เข้าสู่ร่างกาย

โพรไบโอติกส์จะเสริมสร้างการทำงานของจุลินทรีย์ชนิดดีในร่างกาย มีส่วนเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน ปรับสมดุลในระบบทางเดินอาหารให้แข็งแรง ไม่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ชนิดเลว

Dark blue bg

05

โพรไบโอติกส์ กับ ระบบทางเดินอาหาร

70% ของจุลินทรีย์อยู่ที่ลำไส้และระบบทางเดินอาหาร[1]
80% ของระบบภูมิคุ้มกันร่างกายอยู่ที่ระบบทางเดินอาหาร[2]
โพรไบโอติกส์ จุลินทรีย์ชนิดดีจะช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย

Reference Source:
[1] Luke K Ursell et al. Defining the Human Microbiome. Nutr Rev. 2012 Aug; 70(Suppl 1): S38–S44. doi: 10.1111/j.1753-4887.2012.00493.x
[2] Selma P Wiertsema et al. The Interplay between the Gut Microbiome and the Immune System. U.S. National Library of Medicine. Mar 9;13(3):886. doi: 10.3390/nu13030886.

ดังนั้นหาก ระบบทางเดินอาหารแข็งแรง จะช่วย เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันและร่างกายให้แข็งแรง

เมื่อรับประทานผลิตภัณฑ์โพรไบโอติกส์ โพรไบโอติกส์จะเสริมสร้างการทำงานของจุลินทรีย์ชนิดดีในร่างกาย มีส่วนเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน ปรับสมดุลในระบบทางเดินอาหารให้ไม่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ชนิดเลว สายพันธุ์โพรไบโอติกส์ที่พบมากและมีงานวิจัยทางคลินิกหลายฉบับคือ Lactobacillus และ Bifidobacterium

นอกจากนี้ยังมียีสต์บางชนิดที่ถูกนำมาเป็นโพรไบโอติกส์ได้เช่นกัน จากแนวทางการรักษาโดยองค์กร WGO Global guideline probiotics and prebiotics ได้กล่าวถึงการศึกษาทางคลินิกถึงการนำโพรไบโอติกส์มาใช้ในการรักษาทั้งโรคในระบบทางเดินอาหาร เช่น ท้องผูก ภาวะท้องเสียเฉียบพลัน อาการท้องเสียจากการติดเชื้อ Clostridium difficile รวมทั้งยังมีข้อมูลการใช้ในโรคอื่น ๆ นอกเหนือจากทางเดินอาหาร และช่วยในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกาย
โพรไบโอติก คือ-โพรไบโอติกส์ คือ-โปรไบโอติก คือ

สายพันธุ์และจำนวนเชื้อของ
โพรไบโอติกส์ที่เหมาะสม

แม้ว่าจุลินทรีย์หลายชนิดจะเป็นโพรไบโอติกส์เช่นเดียวกัน แต่ประโยชน์ที่ได้รับจากจุลินทรีย์ต่างชนิดกันจะให้ประสิทธิภาพและประโยชน์ในการรักษาที่แตกต่างกันตามสายพันธุ์โพรไบโอติกส์ รวมถึงข้อมูลจากการศึกษาทางคลินิกที่บ่งบอกประสิทธิภาพ และความปลอดภัยก็จะมีความเฉพาะของสายพันธุ์นั้น ๆ ที่ทำการศึกษา

“ ดังนั้นการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์โพรไบโอติกส์จึงควรให้ความสำคัญกับสายพันธุ์ (Strain) ของเชื้อจุลินทรีย์เพื่อให้ตอบโจทย์ประโยชน์ทางสุขภาพที่ตรงกับความต้องการเสมอ "

เช่น โพรไบโอติกส์ Lactobacillus acidophilus สายพันธุ์ NCFM ซึ่งมีงานวิจัยว่ามีบทบาทในเรื่องการลดอุบัติการณ์ในการเกิดไข้ ไอ น้ำมูกไหล และลดการใช้ยาปฏิชีวนะ (Antibiotics) ลงได้ รวมถึงบรรเทาอาการท้องผูก อาการท้องเสียที่สัมพันธ์กับการใช้ยาปฏิชีวนะ (Antibiotic-associated Diarrhea)

จำนวนเชื้อของโพรไบโอติกส์ที่เหมาะสมไม่มากหรือน้อยเกินไปนั้นจะมีความแตกต่างกันไปในแต่ละสายพันธุ์ของเชื้อจุลินทรีย์ และรูปแบบของผลิตภัณฑ์โพรไบโอติกส์แต่ละชนิด โดยผลิตภัณฑ์โพรไบโอติกส์ที่มีจำหน่ายอยู่ตามท้องตลาดจะมีจำนวนเชื้ออยู่ในช่วง 1-10 พันล้านตัว (CFU or Colony-Forming Unit) /หนึ่งหน่วยบริโภค แต่ในจุลินทรีย์บางสายพันธุ์นั้นพบว่าประโยชน์ที่ต้องการเกิดขึ้นได้แม้จะมีจำนวนเชื้อที่น้อย ในขณะที่บางสายพันธุ์ต้องการจำนวนเชื้อที่มาก ข้อสำคัญประการหนึ่งคือจำนวนเชื้อแต่ละสายพันธุ์จะต้องไม่ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดพิษเมื่อได้รับเข้าสู่ร่างกาย

 

พรีไบโอติกส์และซินไบโอติกส์ คืออะไร

พรีไบโอติกส์ (Prebiotics)

นั้นต่างจากโพรไบโอติกส์ โดยที่พรีไบโอติกส์จะเป็นส่วนประกอบของอาหารที่ไม่ถูกย่อยสลายในร่างกาย แต่จะเป็นอาหารให้แก่โพรไบโอติกส์ โดยที่เมื่อรับประทานทั้งสองชนิดร่วมกันจะช่วยปรับสมดุลของระบบทางเดินอาหาร และเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโดยรวม พรีไบโอติกส์จะพบในอาหารชนิดน้ำตาล polysaccharide และ oligosaccharides ซึ่งอยู่ในอาหารจำพวกบิสกิต ซีเรียล ช็อกโกแลต และผลิตภัณฑ์จากนม ยกตัวอย่างสารที่จัดเป็นผลิตภัณฑ์พรีไบโอติกส์เช่น inulin, oligofructose, galacto-oligosaccharide, lactulose เป็นต้น

ซินไบติกส์ (Synbiotics)

คือส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์โพรไบโอติกส์ และพรีไบโอติกส์ ซึ่งจะให้ประโยชน์จากผลิตภัณฑ์ทั้งสองชนิดร่วมกัน

หากต้องการเลือกซื้อโพรไบโอติกส์ ควรสังเกตสิ่งใดบ้างก่อนเลือกซื้อผลิตภัณฑ์

หลายท่านคงมีความต้องการมองหาโพรไบโอติกส์เพื่อเสริมสร้างจุลินทรีย์ชนิดดีให้แก่ร่างกาย ผลิตภัณฑ์โพรไบโอติกส์ที่มีจำหน่ายตามท้องตลาดมีหลายชนิดด้วยกัน ข้อสังเกตก่อนตัดสินใจในเลือกซื้อผลิตภัณฑ์โพรไบโอติกส์ มีดังนี้

  1. ผลิตภัณฑ์ควรมีการระบุชื่อจีนัส และสปีชีส์ รวมถึงชื่อทางวิทยาศาสตร์ ตัวอย่างเช่น Bifidobacterium (จีนัส) animalis (สปีชีส์) lactis (ซับสปีชีส์) และถ้ามีการระบุชื่อสายพันธุ์เฉพาะให้ชัดเจน เช่น Bifidobacterium animalis subsp. lactis HN019 (B. lactis HN019) นั่นคือสามารถระบุถึงประโยชน์จากโพรไบโอติกส์ที่เป็นคุณสมบัติเฉพาะของสายพันธุ์นั้น ๆ ได้ จากหลักฐานผลการศึกษาทางคลินิก
  2. โพรไบโอติกส์ที่บรรจุในผลิตภัณฑ์นั้นจะต้องมีชีวิต อีกทั้งควรมีการระบุปริมาณของโพรไบโอติกส์จุลินทรีย์ แต่ละชนิดให้ชัดเจน รวมทั้งวันที่ผลิตภัณฑ์หมดอายุ
  3. วิธีการเก็บรักษา
  4. ข้อมูลความปลอดภัย อาการข้างเคียง
  5. ขนาดการรับประทานที่แนะนำ ซึ่งขึ้นกับสรรพคุณในการรักษาที่ต้องการ
  6. ข้อมูลของผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรอง หรือการขึ้นทะเบียน
  7. ข้อมูลการติดต่อบริษัทผู้ผลิตหรือผู้จัดจำหน่าย

โดยสรุปแล้วโพรไบโอติกส์เป็นจุลินทรีย์ชนิดดี ที่ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน และมีหลักฐานทางวิชาการถึงประโยชน์ด้านสุขภาพบางชนิด ประโยชน์ของโพรไบโอติกส์นั้นแตกต่างกันตามชนิดของสายพันธุ์ และจำนวนเชื้อที่ให้ประโยชน์ก็มีความแตกต่างกันเช่นกัน การเลือกซื้อผลิตภัณฑ์โพรไบโอติกส์ควรศึกษาถึงข้อมูลในผลิตภัณฑ์ของบริษัท เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถใช้โพรไบโอติกส์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย

เอกสารอ้างอิง

  1. World Gastroenterology Organization (WGO): Global guidelines on probiotics and prebiotics. February, 2017.
  2. Hawrelak JA. Probiotics: choosing the right one for your needs. Journal of the Australian Traditional-Medicine Society. 2003;9(2):67-75.
  3. National Center for Complementary and Integrative Health. Probiotics: what you need to know. [cited March 27, 2023]. Available from: https://www.nccih.nih.gov/health/probiotics-what-you-need-to-know.

Related Articles

เซนไบโอจัดแสดงสินค้าที่ สำนักวิชาเวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

22 มกราคม 2024

  |  

ข่าวสาร , กิจกรรม

เซนไบโอ ได้แนะนำ ผลิตภัณฑ์โพรไบโอติกส์ Zenbio ProBL8 ที่สำนักวิชาเวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง กรุงเทพฯ

เจาะลึกโรคซึมเศร้าและประโยชน์ไซโคไบโอติก (Psychobiotics)

11 มกราคม 2024

  |  

เคล็ดลับ ดูแลสุขภาพ

ทำความรู้จักกับโรคซึมเศร้าแต่ละประเภท สาเหตุ และอันตรายของโรค พร้อมแนะนำวิธีดูแลสภาพจิตใจพื้นฐานกับไซโคไบโอติก โพรไบโอติกช่วยโรคซึมเศร้า

โพรไบโอติกกับโรคเครียดและอาการนอนไม่หลับ

27 ธันวาคม 2023

  |  

เคล็ดลับ ดูแลสุขภาพ

ทำความรู้จักกับโรคเครียดและอาการนอนไม่หลับ สาเหตุ และอันตรายของโรค พร้อมแนะนำวิธีดูแลสภาพจิตใจพื้นฐานกับโพรไบโอติกช่วยปรับอารมณ์ ลดความเครียด และช่วยให้นอนหลับได้ดียิ่งขึ้น